Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12088
Title: | การจัดทำข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตำบล |
Other Titles: | Drafting local ordinances of the subdistrict administrative organizations |
Authors: | สิริพันธ์ พลรบ ขจร แก้วมหานิล, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบล การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการกระจายอำนาจทางปกครอง และการปกครองท้องถิ่นของไทย (2) ศึกษาถึงกระบวนการการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นโดยเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบล (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล และ (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาการตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป การศึกษาค้นความอิสระนี้ครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสาร โดยการศึกษาค้นคว้าจากตำรา รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ ระเบียบข้อบังคับ ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการยกร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) จากแนวคิดทฤษฎี องค์กรปกครองท้องถิ่นเกิดขึ้นตามหลักการกระจายอำนาจทางปกครอง มีหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะในเขตพื้นที่ โดยสามารถจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อให้บริการสาธารณะบรรลุผลได้ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ (2) กระบวนการสำคัญในการจัดทำข้อบัญญัติของท้องถิ่น โดยเฉพาะกรณีขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่ การยกร่าง การเสนอ การพิจารณา และการประกาศใช้ข้อบัญญัติ (3) จากการวิเคราะห์ปัญหา กระบวนการ ยกร่างและการเสนอข้อบัญญัติจะต้องมีการตรวจสอบอย่างถูกต้องและเหมาะสม การพิจารณาจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และควรให้ประชาชนและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในกระบวนการในทุกขั้นตอนให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถบังคับใช้อย่างเหมาะสมกับความต้องการและสภาพพื้นที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นตั้งอยู่ และ (4) ผู้ศึกษาขอเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือนิติกรต้องร่วมตรวจสอบในกระบวนการยกร่างให้ถูกต้องตามหลักการร่างกฎหมาย ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตำบลทุกครั้งที่ดำเนินการ เพื่อให้ได้ข้อบัญญัติที่ถูกต้องสมบูรณ์ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ตั้งไว้ และการบังคับใช้ข้อบัญญัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งควรใช้วิธีประกาศให้ทราบทั่วถึงในพื้นที่แทนการส่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อความรวดเร็วในการดำเนินงาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12088 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License