Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12125
Title: ปัจจัยการเลือกอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors of reading online newspapers among Bangkok population
Authors: มนวิภา วงรุจิระ
สุนันท์ ต่อสกุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
หนังสือพิมพ์ออนไลน์
หนังสือและการอ่าน
การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ (2) ปัจจัยการเลือกอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนใน เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการวิจัยพบว่า (1) ประชาชนในเขตกรุงเทพฯ เปิดรับหนังสือพิมพ์ออนไลน์ โดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ใช้เวลาในการอ่าน 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง นิยมอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์จากที่บ้านหรือที่พัก เว็บไซต์ที่นิยมอ่านมากที่สุด คือ เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ โดยนิยมอ่านพาดหัวข่าวมากที่สุด โดยเฉพาะข่าวการเมือง ข่าวด่วน ข่าวบันเทิง และข่าวต่างประเทศตามลำดับ (2) ปัจจัยสำคัญของการเลือกอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ได้แก่ ปัจจัยด้านค่าใช้จ่ายความสะดวก ความเป็นปัจจุบันของข่าว และการมีทัศนคติที่ดีต่อเทคโนโลยี เช่น สามารถอ่านข่าว โดยไม่ต้องซื้อหนังสือพิมพ์และอ่านได้ครั้งละหลายฉบับ รวมทั้งอ่านข่าวย้อนหลังได้ สามารถเปิดรับเฉพาะข่าวและข้อมูลที่สนใจ สามารถอ่านได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา ข้อมูลมีความทันสมัย สดใหม่ รวดเร็วและน่าเชื่อถือของข้อมูล ความรู้สึกเป็นคนทันสมัย สามารถแสดงความคิดเห็นได้ผ่านโปรแกรมแชท อีเมล์ และเว็บบอร์ดต่างๆการใช้ประโยชน์ในการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12125
Appears in Collections:Comm-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
143674.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.39 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons