Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12336
Title: | การประเมินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงอำเภอโพธิ์ไทรจังหวัดอุบลราชธานี |
Other Titles: | Evatuation of health modification behavior in risk group of metabolic syndrome in Phosri district, Ubonrachatani province |
Authors: | ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ ประมวล ทองนุ่ม, 2503- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพ--ไทย--อุบลราชธานี |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงประเมินผลครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผล โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิต รูปแบบการวิจัย โดยประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ของสตัฟเฟิลบีม ประชากรที่ศึกษามี 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้บริหารจำนวน 20 คน 2) ผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 11 คน และ 3) กลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วน ลงพุง จำนวน 495 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารจำนวน 20 คน และผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 11 คน โดยศึกษาทุกหน่วยประชากร และกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง จำนวน 222 คน เครื่องมือใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า 1) การประเมินผลด้านบริบทของโครงการทั้งผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานและผู้เข้าร่วม โครงการมีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) การประเมินผลด้านปัจจัยนำเข้า ทั้งผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้เข้าร่วม โครงการ มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) การประเมินผลด้านกระบวนการ ทั้งผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และ ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมระดับมาก และ 4) การประเมินผลด้านผลผลิต ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานมีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะ สมอยู่ในระดับมาก ส่วนผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ด้านอาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ อยู่ในระดับดี ส่วนพฤติกรรมที่ถูกต้องและ ปฏิบัติประจำในด้านอาหาร และด้านการออกกำลังกายอยู่ในระดับน้อยมาก แต่ด้านอารมณ์อยู่ในระดับปานกลางข้อเสนอแนะจากการวิจัย เจ้าหน้าที่ระดับตำบล ควรสร้างความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านอาหารและออกกำลังกายให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง และสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12336 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_125325.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License