Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12342
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพของประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอท่าวุ้งจังหวัดลพบุรี
Other Titles: Factor relating the participation in implementation of health management villages of chiefs of village health volunteers in Thawung District, Lopburi Province
Authors: ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำรุง วงษ์นิ่ม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สุขภาพ--ไทย
การมีส่วนร่วมทางสังคม
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะประชากร ภาวะผู้นำ ความรู้ของประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม ) (2) ปัจจัยสนับสนุนการดำนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ (3) ระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะประชากร ภาวะผู้นำ ความรู้ของประธาน อสม. ปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพของประธาน อสม. อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของอำเภอท่าวุ้ง จำนวน 128 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเซิงอนุมานได้แก่ การทคสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ประธาน อสม. ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 51 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพเกษตรกรรม รายได้ครอบครัวเฉลี่ย 6,024 บาทต่อเดือน ระยะเวลาการเป็น อสม เฉลี่ย 12 ปี มีภาวะผู้นำและมีความรู้ในการดำเนินการหมู่บ้านจัดการสุขภาพอยู่ในระดับสูง (2) ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง (3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพอยู่ในระดับสูง (4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพของประธาน อสม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ ภาวะผู้นำของประธาน อสม. และปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลควรส่งเสริมให้ประธาน อสม. ได้ใช้ศักยภาพด้านภาวะผู้นำที่มีอยู่สร้างแกนนำหรือหัวหน้ากลุ่มชมรมต่าง ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านโดยเฉพาะการพัฒนาด้านสุขภาพ และให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ประธาน อสม. ในเรื่องการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพของหมู่บ้าน และนำเสนอข้อมูลคด้านสุขภาพในเวทีประชาคม เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.)
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12342
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_127311.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.21 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons