Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1248
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตรา วีรบุรีนนท์th_TH
dc.contributor.authorมาโนชย์ ต๋องเรียน, 2504-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-29T07:11:27Z-
dc.date.available2022-08-29T07:11:27Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1248en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาและความเชื่อเรื่องผีของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี (2) ความเชื่อเรื่องผีและการเปลี่ยนแปลงความเชื่อในพิธีกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี (3) การสืบทอดและการถ่ายทอดความเชื่อเรื่องผีในพิธีกรรมต่างๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรีวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบพิธีกรรม จำนวน 8 คน ผู้รู้ผู้ อาวุโสจำนวน 16 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 4 คน ผู้เข้าร่วมพิธีกรรม จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 40 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เจาะลึก แบบสำรวจชุมชนและแบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า (1) ประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ เป็นกลุ่มซึ่งอพยพมาจากเมืองแถง หรือเดียนเบียนฟูประเทศเวียดนาม โดยอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอำเภอดำเนินสะดวก ตำบลดอนคลัง ตำบลบัวงาม เมื่อ พ.ศ.2438 โดยเพียหุนเป็นหัวหน้า (2) ความเชื่อเรื่องผีในพิธีกรรมต่างๆ ของไทยทรงดำ ประกอบด้วย พิธีกรรมการเกิด พิธีกรรมการแต่งงาน พิธีกรรมการขึ้นบ้านใหม่ พิธีกรรมการรักษาโรคได้แก่ พิธีกรรมการแปลงขวัญ พิธีกรรมเสนตัวหรือเสนผีขึ้นเสื้อ พิธีกรรมเสนกวัดไกว้หรือกวัดกว้าย พิธีกรรมเสนแกเคราะห์ พิธีกรรมเสนเต็งหรือเสนน้อยจ้อย พิธีกรรมการตาย ได้แก่ การอาบน้ำศพ การตั้งศพ การเก็บศพ การเผาศพ การไว้ทุกข์ พิธีกรรมเอาผีขึ้นเรือน พิธีกรรมการเสนเรือน และพิธีกรรม ปาดต๊ง (3) การสืบทอด การถ่ายทอด ความเชื่อเรื่องผีในพิธีกรรมต่าง ๆ ของไทยทรงดำ โดยจะถ่ายทอดให้ลูกชายในสายโลหิตเป็นการถ่ายทอดจากครอบครัว ผู้อายุสูงกว่า อาวุโสกว่า เป็นผู้ทำให้ดูก่อน ผู้สืบทอดจะสังเกตนำมาปฏิบัติ และผู้ถ่ายทอดจะมอบหน้าที่ให้ การเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมต่างๆ ได้แก่ พิธีกรรมการเกิด พิธีกรรมการแต่งงาน พิธีกรรมการขึ้นบ้านใหม่ และพิธีกรรมการรักษาโรคได้แก่ พิธีกรรมการเสนกวัดไกว้หรือกวัดกว้าย ส่วนสาเหตุการเปลี่ยนแปลง เกิดจากความเจริญด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการแพทย์ ด้านเทคโนโลยีสื่อสาร การผสมผสานระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์และพุทธศาสนาth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectความเชื่อth_TH
dc.subjectผี--พิธีกรรมth_TH
dc.subjectไทยทรงดำ--ความเป็นอยู่และประเพณีth_TH
dc.subjectไทยทรงดำ--พิธีกรรมth_TH
dc.titleความเชื่อเรื่องผีในพิธีกรรมไทยทรงดำ : กรณีศึกษาอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรีth_TH
dc.title.alternativeBeliefs about ghosts in the rites of the Thai Song Dam : a case study of Damnoen Saduak District, Ratchaburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study (1) the history and beliefs about ghosts of the Thai Song Dam or Lao Song ethnic group in Damnoen Saduak District, Ratchaburi Province; (2) changes in this group’s beliefs and rites; (3) the inheritance and passing down of beliefs about ghosts in the group’s rites. This was a qualitative research. The sample population of 40 people consisted of 8 rite performers, 16 knowledgeable elders, 4 community leaders, and 12 rite participants. Data were collected using an in-depth interview form, a community survey, and an observation form. Data were analyzed using descriptive analysis. The results showed that (1) The Thai Song Dam are a group that immigrated from Thaeng, or present day Dien Bien Phu, Vietnam and settled in Don Khlang Sub-district and Bua Ngam Sub-district, Damnoen Saduak District, Ratchaburi Province in 1895. Their leader was named Pia Hoon. (2) Beliefs about ghosts are involved in many Thai Song Dam rites, such as birth rites, marriage rites, housewarming rites, healing rites (blaeng kwan or guardian spirit transformation, sen dua/ sen phi keun seua, sen kwad-kwai, sen kae krauh or bad luck correcting, and sen deng/sen noy joy), and death rituals, including corpse bathing rites, wake rites, cremation rites, mourning rites, “inviting the ghost to the house,” sen ruen and bahddong. (3) The beliefs about ghosts in Thai Song Dam rites were passed down to male children by having the elders perform the rites and the younger generations observe and practice, until the elder would pass on the responsibility of performing the rite to his son or male relative. The rites that have changed are birth rites, marriage rites, housewarming rites, and healing rites (sen kwad-kwai). They changed because of infrastructure development, medical advances, communications technology, ethnic mixing and assimilation, and the influence of Buddhism.en_US
dc.contributor.coadvisorสุดจิต เจนนพกาญจน์th_TH
dc.contributor.coadvisorไพฑูรย์ มีกุศลth_TH
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (18).pdfเอกสารฉบับเต็ม46.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons