Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12542
Title: การออกแบบสร้างเครื่องมือตรวจวัดความร้อน : อุณหภูมิ เวต บัลบ์ โกลบ
Other Titles: Designation of heat stress monitor : wet bulb Globe temperature
Authors: สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์
ทศพล ปานามา, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
เครื่องวัดอุณหภูมิ--การออกแบบและการสร้าง
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การตรวจวัดสภาวะแวดล้อมโดยเฉพาะความร้อนในสถานประกอบการจัดได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากความร้อนจะมีผลต่อสุขภาพและประสิทธิภาพการทำงานของผู้ปฏิบัติงานซึ่งสถานประกอบกิจการในข่ายบังคับตามกฎหมายจะต้องทำการตรวจวัดความร้อนในพื้นที่การทำงานการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องวัดความร้อน : อุณหภูมิเวต บัลบ์ โกลบ ที่ได้มาตรฐานตามกฎหมาย เพื่อนำไปใช้ในสถานประกอบกิจการโดยเครื่องวัดความร้อนที่สร้างขึ้นมานี้มีลักษณะที่ง่ายต่อการใช้งานและมีราคาประหยัดกว่าเครื่องตรวจวัดคว่ามร้อนที่ใช้อยู่ในท้องตลาดซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศการศึกษานี้ได้ออกแบบและสร้างเครื่องวัดความร้อน : อุณหภูมิเวต บัลบ์ โกลบ ที่มีขนาดกว้าง 7 เซนติเมตร ยาว 13.5 เซนติเมตร สูง 5 เซนติเมตร หนัก 250 กรัม โดยโกลบ ทำจากแผ่นทองแดงหนา 2 มิลลิเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50.8 มิลลิเมตร และใช้ไอซี เบอร์ LM 335 ในการประมวลผลสัญญาณ จากนั้นได้นำเครื่องไปทำการสอบเทียบที่ห้องปฏิบัติการสอบเทียบของบริษัทไอ-แคล จำกัดและทดสอบตรวจวัดจริงในโรงงาน ผลการศึกษา พบว่า จากการสอบเทียบจากห้องปฏิบัติการ ในการทดสอบที่ 25-35 องศาเซลเซียส มีค่าความผิดพลาดอยู่ที่ 0.058 องศาเซลเซียส ซึ่งการเกณฑ์ยอมรับได้อยู่ที่ 50% ของ 1 องศา ดังนั้นเครื่องที่สร้างขึ้นจึงยอมรับได้ตามมาตรฐาน และได้นำไปทดสอบตรวจวัดจริง ณ แผนกต่าง ๆ ของบริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเครื่องจักรและมีความร้อนสูงในบางพื้นที่ของกระบวนการผลิต จำนวน 12 จุดโดยเปรียบเทียบกับเครื่องวัดความร้อนยี่ห้อ Metrosonic รุ่น HS-3600 ที่ผ่านการสอบเทียบแล้วจากการทดสอบโดยใช้ค่าสถิติทดสอบ t พบว่าผลเครื่องวัดความร้อน : อุณหภูมิเวต บัลบ์ โกลบ ที่สร้างขึ้นกับเครื่องที่นำมาเปรียบเทียบในการตรวจวัดความร้อนโดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากเครื่องวัดความร้อนที่นำมาใช้เปรียบเทียบทั้งนี้ผลการทดสอบได้ทำโดยใช้ค่าช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และมีค่าใช้จ่ายในการสร้าง เครื่องวัดความร้อน 2,500 บาท ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้ กรณีผู้สนใจเพื่อสร้างเครื่องวัดความร้อน : อุณหภูมิเวต บัลบ์โกลบ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรออกแบบให้เปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ง่ายขึ้นและควรพัฒนาให้สามารถอ่านค่า WBGT ทั้งในอาคารและนอกอาคารได้โดยตรง โดยไม่ต้องใช้สูตรคำนวณอีก เพื่อให้ใช้งานได้สะดวกมากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12542
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_124671.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.66 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons