Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12544
Title: | ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพของหมู่บ้านจัดการสุขภาพในจังหวัดนครปฐม |
Other Titles: | Potential of the sub-district local administration organization for health promotion implementation of health management villages in Nakorn Prathom Province |
Authors: | เยาวภา ติอัชสุวรรณ กันธิมา ศิริกุล, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การส่งเสริมสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบล--บริการส่งเสริมสุขภาพ อนามัยชุมชน การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์ |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ปฏิบัติงาน และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต. ) (2) การบริหารจัดการแผนงานและงบประมาณด้านสาธารณสุข (3) การบริหารจัดการหมู่บ้านจัดการสุขภาพ (4) ผลการปฏิบัติงานในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ของอบต. และ (5) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาการศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสารวจแบบภาคตัดขวาง ประชากรคือพนักงานส่วนตำบลของอบต. ขนาดกลางซึ่งรับผิดชอบงานด้านหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ในจังหวัดนครปฐม อบต. ละ 1 คน 90 แห่ง 90 คน ศึกษาทุกหน่วยของประชากร เครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงานของ อบต. และข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบล และแบบประเมินผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพในหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ตาม 5 หมวดตัวชี้วัด มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.9931 วิเคราะห์ข้อมูลเป็นความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และไคสแควร์ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ปฏิบัติงานเป็นเพศหญิงในสัดส่วนที่มากกว่าเพศชาย อายุเฉลี่ย 34.08 ปีส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาไม่สูงกว่าปริญญาตรี มีประสบการณ์การทำงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพเฉลี่ย 2.967 ปี ส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการอบรมงานด้านหมู่บ้านจัดการสุขภาพ สัดส่วนของอบต. ที่รับผิดชอบจานวนหมู่บ้าน 6 – 10 หมู่บ้าน มีสูงสุด ส่วนใหญ่ไม่มีส่วนสาธารณสุข ไม่เคยส่งบุคลากรเข้าอบรมงานด้านสาธารณสุขและไม่เคยสนับสนุนงบประมาณในการจัดการให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่บุคลากร (2) อบต. ส่วนใหญ่พิจารณาอนุมัติแผนงานโครงการด้านสาธารณสุขตามสภาพและความเร่งด่วนของปัญหา และจัดสรรงบประมาณทรัพยากร ตามความสำคัญของแผนงาน (3) อบต. ส่วนใหญ่กาหนดนโยบายและจัดสรรงบประมาณสำหรับแผนพัฒนางานสาธารณสุข และจัดอบรมให้ความรู้สำหรับโครงการป้องกันและควบคุมโรคต่าง ๆ ยาเสพติด การอบรมความรู้ด้านสุขภาพให้แก่ อสม./ประชาชน และการออกกาลังกายในชุมชน (4) อบต. ส่วนใหญ่สนับสนุนงบประมาณ และการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชุมชนจัดขึ้นในหมู่บ้านจัดการสุขภาพ มีจำนวนบุคลากรที่รับผิดชอบเฉลี่ย 1.5814 คน (5) อบต. ส่วนใหญ่มีผลการปฏิบัติงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ (6) เพศ การได้รับการอบรมและประสบการณ์การทำงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ จานวนหมู่บ้านที่ อบต. รับผิดชอบ การจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการออกกำลังกาย การจัดบริการด้านสุขภาพ และการป้องกันยาเสพติด พบว่ามีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านจัดการสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12544 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_125293.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License