Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12575
Title: | การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง เขตสุขภาพที่ 2 |
Other Titles: | Development of a clinical supervision model of head nurses at a general hospital in Regional Health 2 |
Authors: | สุทธีพร มูลศาสตร์ รุ่งทิพย์ สวัสดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --การศึกษาเฉพาะกรณี บริการการพยาบาล การพยาบาล--การบริหาร การศึกษาอิสระ--การบริหารการพยาบาล |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การนิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วย 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วย และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง เขตสุขภาพที่ 2 กลุ่มตัวอย่างแบ่งตามขั้นตอนการศึกษา ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การนิเทศทางคลินิกของหัวหน้หอผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 8 คน ชั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามแบบจำลองการนิเทศเจ็ดตา กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยใน จำนวน 8 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศทางคลินิกที่พัฒนาขึ้นกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 100 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แนวสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาสถานการณ์การนิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วย 2) แนวสนทนากลุ่มเพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วย และ 3) แบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศทางคลินิกที่พัฒนาขึ้น ซึ่งมีค่สัมประสิทธิ์แอลาครอนบาคเท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์การนิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วย พบปัญหาการ นิเทศ ได้แก่ การดูแลทางคลินิกควรได้รับการปรับปรุง อัตรากำลังไม่เพียงพอ ผู้นิเทศไม่เห็นความสำคัญ และขาดความมั่นใจในการนิเทศ มีความต้องการแนวทางการนิเทศ แผนและคู่มือการนิเทศ 2) รูปแบบการนิเทศทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วย ประกอบด้วยการนิเทศทางคลินิก 6 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้ป่วย ด้านกิจกรรมการพยาบาล ด้านสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพ ด้านพยาบาลวิชาชีพ ด้านสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลวิชาชีพและหัวหน้าหอผู้ป่วย และด้านหัวหน้าหอผู้ป่วย 3) รูปแบบการนิเทศ ทางคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมในระดับมาก |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12575 |
Appears in Collections: | Nurse-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_158696.pdf | 17.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License