Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12597
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorช่อทิพย์ บรมธนรัตน์th_TH
dc.contributor.authorนภัคสรณ์ มีสูงเนินth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-07-18T03:22:50Z-
dc.date.available2024-07-18T03:22:50Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12597-
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพรรณนา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของคนพิการ ปัจจัย การรับรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพ และปัจจัยสนับสนุนการเข้าถึงบริการสุขภาพตามการรับรู้ของคนพิการ (2) ระดับการ เข้าถึงบริการสุขภาพตตามการรับรู้ของคนพิการในภาพรวมและรายด้าน 6 ด้าน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะ ส่วนบุคคล ปัจจัยการรับรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพ ปัจจัยสนับสนุนการมารับบริการกับการเข้าถึงบริการสุขภาพตาม การรับรู้ของคนพิการ และ (4) ปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงบริการสุขภาพตามการรับรู้ของคนพิการในตำบล ขามทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ คนพิการในตำบลขามทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัด นครราชสีมา จำนวน 120 คน โดยศึกษาทุกหน่วยประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ ที่มีค่าความเที่ยง ของการรับรู้ 0.8486 และค่าความเที่ยงของความพึงพอใจ 0.9513วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแคว์ ฟิชเชอร์ แอคแซค และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของคนพิการ พบว่าเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 48.81 ปี ถานภาพโสด จบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา ไม่ได้ทำงาน มีรายได้ของตนเองเฉลี่ย เท่ากับ 1963.02 บาท มีรายได้ของครอบครัวเฉลี่ยเท่ากับ 10,445.92บาท มีความเพียงพอของรายได้ในระดับพอใช้ มีความพิการด้านจิต พฤติกรรมมากที่สุด มีโรคประจำตัวร่วมด้วย เข้ารับบริการเฉลี่ย 4.14 ครั้ง/ปี ได้รับเบี้ยยังชีพคนพิการ ได้รับเบี้ย สูงอายุ สุขภาพมีความจำเป็นต้องการใช้บริการ และจำเป็นที่จะใช้บริการเมื่อเจ็บป่วยมาก (2) ระดับการเข้าถึงบริการ สุขภาพในภาพรวมและรายด้านทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับสูง (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเข้าถึงบริการ สุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ การรับรู้ภาวะสุขภาพ (p<0.05) และ ระยะทาง และระยะเวลาเดินทาง มารับบริการ (p<0.001) ส่วนระยะเวลารับบริการมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการเข้าถึงบริการสุขภาพ และ (4) ปัญหา อุปสรรค คือสภาพความพิการเป็นอุปสรรคในการไปใช้บริการโดยลำพังไม่ได้ ต้องมีคนพาไป และข้อเสนอแนะ คือ ผู้อำนวยการควรร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นร่วมเพื่อจัดทำแผนและงบประมาณในเรื่องการจัดรถ เพื่ออำนวยความสะดวกรับคนพิการในพื้นที่ ในการเข้ารับบริการ โดยกำหนดวันนัดรับบริการเป็นหมู่บ้านในแต่ละ เดือน และให้คนพิการประชาสัมพันธ์ให้คนพิการและผู้ดูแลทราบth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectคนพิการ--สุขภาพและอนามัยth_TH
dc.subjectการบริการพยาบาลth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์th_TH
dc.subjectคนพิการ--ไทย--นครราชสีมาth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการสุขภาพตามการรับรู้ของคนพิการในตำบลขามทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมาth_TH
dc.title.alternativeFactors related to accessibility to health services perceived by disabled persons in Kham Thale So Sub - district, Kham Thale So District in Nakhon Ratchasima Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_128714.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.03 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons