Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1265
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตรา วีรบุรีนนท์th_TH
dc.contributor.authorพระมหาเดช มีภาพ, 2513-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-29T08:43:24Z-
dc.date.available2022-08-29T08:43:24Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1265en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมา ความเชื่อและพิธีกรรมของชาวกวย ตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ (2) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลต่อความเชื่อและพิธีกรรมของชาวกวย ตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ (3) แนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมความเชื่อและพิธีกรรมของชาวกวย ตำบลโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้อาวุโส/ผู้รู้ และปราชญ์ชาวบ้านในชุมชน จำนวน 10 คน ผู้นำชุมชนในตำบลตาโกน จำนวน 5 คน ประชาชนชาวตำบลตาโกน มีกำหนดอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไปจำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 25 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสำรวจชุมชน การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ชาวกวยบ้านตาโกนนั้นดั้งเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณ พระธาตุเมืองจันทร์ ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 หรือบ้านเมืองจันทร์ปัจจุบัน ต่อมาภายหลังได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาสร้างชุมชนใหม่ สำหรับชื่อเรียกขานชุมชนนั้นตั้งตามชื่อแหล่งน้ำคือ หนองตะกอล ซึ่งเป็นภาษากวย แปลว่าหัวเข่า และเพี้ยนเป็น ตาโกน จนถึงปัจจุบัน ความเชื่อและพิธีกรรมของชาวกวย ตำบลตาโกน คือความเชื่อและพิธีกรรมเรื่องผีปู่ ตา ผีตาแฮก ส่วนพิธีกรรมเป็นการเซ่นผีบรรพบุรุษในวันสารท (จาสาก) การรำผีออผีแถน การขึ้นบ้านใหม่ และพิธีกรรมประเพณีไหว้พระธาตุ (บ้านเมืองจันทร์) (2) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลต่อความเชื่อและพิธีกรรมของชาวตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษเป็นการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านครอบครัวเดิม ซึ่งเดิมเป็นครอบครัวขยาย ปัจจุบันเป็นครอบครัวเดี่ยว ส่วนกลุ่มสังคมเดิมจะรวมกลุ่มมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางญาติสายโลหิต ปัจจุบันเป็นการรวมกลุ่มโดยหน่วยงานต่างๆ ส่วนด้านชุมชน ชุมชนเดิมจะช่วยเหลือกิจกรรม โดยมีวัดเป็นศูนย์รวมจัดกิจกรรมทางศาสนาและประเพณี ปัจจุบันกิจกรรมหรืองานบางประเภทจะมีหน่วยงานจากส่วนกลางเข้ามาดำเนินงาน (3) แนวทางในการอนุรักษ์และส่งเสริมความเชื่อและพิธีกรรมชาวกวยตำบลตา-โกน คือการอบรมสั่งสอนบุตรหลานคนรุ่นหลังให้ได้รับรู้ถึงความเป็นมาและความสำคัญของพิธีกรรมประเพณีที่ถือว่าเป็นมรดกภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษมอบไว้ให้ เพื่อให้เกิดความสำนึก ภูมิใจที่จะร่วมกันรักษาไว้ควบคู่ไปกับการนำบุตรหลานถือปฏิบัติในพิธีกรรมและประเพณีตามเทศกาลนั้น ๆ ไปพร้อมกันth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2013.135en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectกูย--ไทย--พิธีกรรมth_TH
dc.subjectความเชื่อth_TH
dc.titleพิธีกรรมและความเชื่อของชาวกูย ตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษth_TH
dc.title.alternativeRituals and beliefs of the Kuy ethnic gruop of Takone Sub-district in the Mueang Chan District, Si Sa Ket Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2013.135-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study (1) the history, beliefs and rituals of the Kuoy ethnic group of Thakon Sub-district, Mueang Chan Distict, Si Sa Ket Province; (2) social changes that affected those beliefs and rituals; and (3) approaches to preserving and promoting the traditional beliefs and rituals of the group. This was a qualitative research. The sample population consisted of 10 knowledgeable elders or community philosophers, 5 community leaders, and 10 residents of Thakon Sub-district, Mueang Chan District, Si Sa Ket Province aged 50 or older. The research tools consisted of an interview form, a community survey form, participatory observation and non-participatory observation. Data were analyzed using descriptive analysis. The results showed that (1) The Kuoy originally settled in the area of Phra That Mueang Chan in the 16th -17th century, Buddhist Era (11th-12th century Common Era), which is where Baan Mueang Chan Village is located at present. Later the Kuoy moved their community to a new place, which they called after the name of the local water source “Nong Tagon,” meaning “knee.” This name was later corrupted to the present pronunciation “Thakon.” The Kuoy have the following beliefs and related rituals: belief in Phi Buta (the spirits of ancestors who are the local spirits of the village), Phi Tahaek (the guardian spirit of the rice fields), the ritual of propitiating the spirits of ancestors on the new year day or Jasak, performing a dance and ceremony for Phi Or-Phi Taen (gods that can bestow rain and good fortune), housewarming rituals, and a ceremony to pay respect to the local Buddha relic. (2) The social changes that affected these beliefs and rituals since 1992 were: on the family level, the traditional custom of living in extended families changed to living in nuclear families; on the social group level, the traditional groups were aligned as family relation groups, but now most groups are organized according to community-level agencies or organizations; and traditionally the Buddhist temple was the center for community activities, traditions and religious activities, but at present some community activities or ceremonies are organized by government agencies. (3) The approach for preserving and promoting the Kuoy’s beliefs and rituals is to teach all the children and younger generations the history and importance of those beliefs and rituals as an intellectual heritage that their ancestors left to them, so that they will be proud and aware of joining to preserve them, and to have the children participate in all the rituals.en_US
dc.contributor.coadvisorสุดจิต เจนนพกาญจน์th_TH
dc.contributor.coadvisorไพฑูรย์ มีกุศลth_TH
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (25).pdfเอกสารฉบับเต็ม19.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons