Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12714
Title: | แนวทางการพัฒนาการบริหารสภาพแวดล้อมเพื่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดพัทลุง |
Other Titles: | Guidelines for development of learning environment management of Islamic private schools in Phatthalung Province |
Authors: | จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์ วารุณี ยะวะหาบ, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | สภาพแวดล้อมห้องเรียน โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการบริหารสภาพแวดล้อมเพื่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดพัทลุง และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารสภาพแวดล้อมเพื่อการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดพัทลุง ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) การบริหารสภาพแวดล้อมเพื่อการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดพัทลุง ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับ คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านอาคารสถานที่ ด้านปฏิสัมพันธ์ของบุคคล ด้านความปลอดภัย และด้านการเรียนการสอนส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านภูมิทัศน์ (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารสภาพแวดล้อมเพื่อการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาควร (1) จัดวางแผนผังแม่บท ที่ตั้งอาคาร รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ต่างๆให้เหมาะสม เพียงพอ มีสภาพความพร้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน และควรแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดูแลอย่างชัดเจน (2) กำหนดอาณาเขตสถานศึกษาให้ชัดเจน จัดปรับปรุงภูมิทัศน์ ให้ร่มรื่น สวยงาม มีสถานที่พักผ่อน มีแหล่งเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ และมีการดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ (3) กำหนดมาตรการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัย หมั่นตรวจสอบสภาพอาคาร วัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมต่อการใช้งาน ให้ความรู้ แนวทางป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น (4) สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรระหว่างสมาชิกทุกคน ให้ขวัญกำลังใจต่อกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิด ส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วม (5) เน้นให้ครูและผู้เรียนจัดแหล่งเรียนรู้ ประเมินผลการใช้ประโยชน์จากสถานที่ต่างๆให้เกิดความคุ้มค่าและได้ประโยชน์สูงสุด จัดหลักสูตรที่เหมาะสมกับชุมชนและผู้เรียน เน้นกิจกรรมเสริมความรู้และทักษะตามความถนัดของผู้เรียน และ (6) วางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ กำหนดกฎระเบียบ หน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน ติดตามและประเมินผลการทำงานอย่างสม่ำเสมอ และจัดสรรงบประมาณพัฒนาครูและคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12714 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License