Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12743
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภารดี เต็มเจริญth_TH
dc.contributor.authorพูนศรี ไชยทองเครือ, 2533-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-09-13T06:51:52Z-
dc.date.available2024-09-13T06:51:52Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12743en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสุขภาพ กิจกรรมทางกาย และพลังงานและโปรตีนที่ได้รับจากอาหารบริโภคของผู้สูงอายุ (2) ประเมินความชุกของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยของผู้สูงอายุ (3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสุขภาพ กิจกรรมทางกาย และพลังงานและโปรตีนที่ได้รับจากอาหารบริโภคกับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และ (4) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุเพศชายและหญิงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จำนวน 147 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การประเมินภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และการประเมินอาหารบริโภคด้วยวิธีการสัมภาษณ์อาหารบริโภคทบทวนความจำย้อนหลัง 24 ชั่วโมง ร่วมกับการบันทึกอาหารบริโภคเป็นเวลา 2 วัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 60-69 ปีมีสถานภาพสมรสคู่ อาศัยอยู่กับคู่สมรสหรือบุตรหลาน จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และไม่ได้ประกอบอาชีพ กลุ่มตัวอย่างประมาณ 3 ใน 4 มีโรคประจำตัว โดยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างมากกว่า 4 ใน 5 มีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับน้ำหนักเกินและอ้วน และมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ พลังงานที่ได้รับจากอาหารบริโภคเฉลี่ย 1,215 กิโลแคลอรีต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 70 ของปริมาณอ้างอิง และได้รับสารอาหารโปรตีนเฉลี่ย 43 กรัมต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 82 ของปริมาณอ้างอิง (2) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 48.3 มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย โดยเพศชายมีภาวะมวลกล้ามน้อยมากกว่าเพศหญิง (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ความเพียงพอของรายได้ ดัชนีมวลกาย กิจกรรมทางกาย และพลังงานและสารอาหารโปรตีนที่ได้รับจากอาหารบริโภค (p<0.05) และ (4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยมี 4 ปัจจัย คือ ปริมาณโปรตีนเฉลี่ยที่ได้รับจากอาหารบริโภคและดัชนีมวลกายที่มีผลในทางผกผันกับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ส่วนเพศชายและอายุที่มากขึ้นจะเพิ่มสัดส่วนภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย และปัจจัยดังกล่าวสามารถร่วมกันทำนายภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยได้ร้อยละ 58.3 (R2=0.583)th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectกล้ามเนื้อth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--สุขภาพและอนามัย--ไทย--ชลบุรีth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยของผู้สูงอายุในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting sarcopenia among the elderly in Sattahip District, Chonburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were: (1) to study personal factors, health factors, physical activity, and energy and protein intake of the elderly; (2) to investigate the prevalence of sarcopenia among the elderly; (3) to analyze relationship between personal factors, health factors, physical activity, and energy and protein intake from food consumption and sarcopenia; and (4) to analyze factors affecting sarcopenia among the elderly. The participants were 147 elderly, men and women with aged 60 years and over, who lived in Sattahip district, Chonburi province. They were selected using simple random sampling. Data were collected by interviewing, sarcopenia assessment, and assessment of dietary intake by 24 hour recall combined with 2 days food record. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, and multiple regression analysis. The results of this research revealed that: (1) most of the participants were female, aged between 60-69 years, had married status, lived with spouse or their children, finished primary education, and had no career. About three-fourths of them had chronic illness, which mostly was hypertension. More than 4 of 5 of the participants had body mass index at overweight and obesity levels, and had adequate physical activity. Average of energy intake was 1,215 kilocalories per day, representing 70% of Dietary Reference Intake (DRI), and average protein intake was 43 grams per day, representing 82% of DRI.; (2) the prevalence of sarcopenia was 48.3%, in which males had sarcopenia more than females; (3) factors significantly related to sarcopenia in the elderly were gender, age, marital status, education level, income adequacy, body mass index, physical activity, and energy and protein intake (p< 0.05); and (4) four factors affected sarcopenia were that average protein intake and body mass index were inversely affected sarcopenia, on the other hand males and older age increased sarcopenia. These factors could predict 58.3% of sarcopenia (R2=0.583)en_US
dc.contributor.coadvisorวศินา จันทรศิริth_TH
dc.contributor.coadvisorศริศักดิ์ สุนทรไชยth_TH
Appears in Collections:Hum-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.5 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons