Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12746
Title: ประสิทธิผลของโภชนบำบัดทางการแพทย์ที่ใช้คู่มือการจัดกลุ่มอาหารตามสัญญาณไฟจราจรต่อความรู้ พฤติกรรมการบริโภคอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
Other Titles: Effectiveness of a medical nutrition therapy using handbook with traffic light food groups on knowledge, food consumption behavior and blood sugar levels of diabetic patients in Nong Bua Hospital, Nong Bua District, Nakhon Sawan Province
Authors: ภารดี เต็มเจริญ
จันทร์จิรา ไกรสังข์, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สำอาง สืบสมาน
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ--วิทยานิพนธ์
เบาหวาน--โภชนบำบัด
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความรู้เกี่ยวกับอาหารโรคเบาหวาน 2) พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และ 3) ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ภายในและระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ก่อนและหลังการให้โภชนบำบัดทางการแพทย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่ม วัดก่อน-หลัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการจากคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ใช้จากการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและคู่มือโภชนบำบัดการที่มีและไม่มีการจัดกลุ่มอาหารตามสัญญาณไฟจราจร กลุ่มทดลองได้รับการให้คำแนะนำความรู้เกี่ยวกับอาหารโรคเบาหวาน ร่วมกับการใช้คู่มือการจัดกลุ่มอาหารตามสัญญาณไฟจราจรในกระบวนการให้โภชนบำบัดทางการแพทย์ จำนวน 1 ครั้ง ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับกระบวนการเช่นเดียวกันยกเว้น คู่มือที่ไม่มีการจัดกลุ่มอาหารตามสัญญานไฟจราจรติดตามผลเป็นเวลา 1 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบค่าทีอิสระ และค่าทีคู่ โดยใช้นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการทดลอง พบว่า หลังการทดลอง 1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับอาหารโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองและมีค่าเฉลี่ยความแตกต่างของคะแนนพฤติกรรมการบริโภคระหว่างก่อนและหลังการทดลองมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากกว่าก่อนการทดลอง และมีค่าเฉลี่ยความแตกต่างของระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างก่อนและหลังการทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12746
Appears in Collections:Hum-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons