Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12747
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิตยา เพ็ญศิรินภาth_TH
dc.contributor.authorชวดล ช่วงสกุลth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-09-13T07:07:04Z-
dc.date.available2024-09-13T07:07:04Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12747-
dc.description.abstractการศึกษาเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ทัศนคติ การสนับสนุน ขององค์กรที่มีต่อนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล 2) การปฏิบัติงานตามนโยบาย โรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ทัศนคติ และ การสนับสนุนขององค์กร กับการปฏิบัติตามนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของบุคลากร สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดศรีสะเกษ ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรสาธารณสุขสังกัดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัด ศรีสะเกษ จำนวน 991 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของสายวิชาชีพได้กลุ่มตัวอย่าง 248 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงในส่วนของทัศนคติ การสนับสนุนขององค์กร และการปฏิบัติของบุคลากรสาธารณสุข เท่ากับ 0.70, 0.89 และ 0.71 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไค-สแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ เฉลี่ย 41.2 ปี ดำรงตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข และพยาบาลวิชาชีพมากที่สุด มีระยะเวลาการปฏิบัติงาน เฉลี่ย 10.45 ปี ส่วนใหญ่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผล มีทัศนคติต่อนโยบายโดยรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง และการสนับสนุนขององค์กรอยู่ในระดับปานกลาง 2) การปฏิบัติของบุคลากรตามนโยบาย โรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลอยู่ในระดับสูง และ 3) เพศ และตำแหน่งของบุคลากรสาธารณสุข มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามนโยบายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทัศนคติมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง ในทิศทางบวกกับการปฏิบัติตามนโยบายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการสนับสนุนขององค์กรก็มีความ สัมพันธ์ระดับต่ำในทางบวกกับการปฏิบัติตามนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการใช้ยา--ไทย--ศรีสะเกษth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาลth_TH
dc.titleการปฏิบัติของบุคลากรสาธารณสุขตามนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดศรีสะเกษth_TH
dc.title.alternativePractices of health personnel related to rational drug use policy at Sub-district Health Promoting Hospitals in Si Sa Ket Provinceth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this survey study were to identify: (1) personal factors and attitudes and organizational support; (2) practices of health personnel; and (3) relationship between personal factors, attitudes, and organizational support and the practices of health personnel, all related to Rational Drug Used training course promotion policy at sub-district health promoting hospitals in Si Sa Ket province. The study was conducted in a sample of 248 health personnel selected, using the stratified sampling method, out of 991 health personnel at all sub-district health promoting hospitals in the province. Data were collected using a questionnaire that had reliability values for personnel attitudes, organizational support and personnel practices of 0.70, 0.89 and 0.71, respectively, and then analyzed to determine frequency, percentage, average, standard deviation, Chi-square test, and Spearman’s rank correlation coefficient. The results showed that: (1) most participants were female with an average age of 41.2 years, working as public health technical officers and registered nurses with 10.45 years of work experience, on average, and had attended a Rational Drug Used training course. Their overall attitudes towards Rational Drug Used training course and the organizational support were at the moderate level; (2) the practices of health personnel according to the Rational Drug Used training course promotion policy were at the high level; and (3) the Rational Drug Used training course policy implementation or practices were significantly associated with personnel’s gender and positions, attitudes (moderately positive) and organizational support (lowly positive)en_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_157137.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.8 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons