Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12757
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีระวุธ ธรรมกุลth_TH
dc.contributor.authorนะชาวีร์ สมหวังพรเจริญ, 2536--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-09-13T07:58:05Z-
dc.date.available2024-09-13T07:58:05Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12757-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติต่อการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และประสบการณ์การมีส่วนร่วมดำเนินงานกับ อปท. (2) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการของ อปท. เพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. สู่ อปท. (3) การตัดสินใจถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. สู่ อปท. และ (4) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. สู่ อปท. ของบุคลากรใน รพ.สต. ในจังหวัดกาญจนบุรี ประชากรคือบุคลากรใน รพ.สต. ในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 668 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 247 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้แอปพลิเคชันอิพิ อินโฟ เวอร์ชั่น 5.5.8 และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงในด้านความรู้เกี่ยวกับการกระจายอำนาจและการถ่ายโอนภารกิจ ด้านทัศนคติต่อการถ่ายโอนภารกิจ ด้านประสบการณ์การมีส่วนร่วม ด้านความเห็นต่อการบริหารจัดการของ อปท. และด้านการตัดสินใจถ่ายโอนภารกิจสู่ อปท. เท่ากับ 0.8, 0.9, 0.9, 0.9 และ 0.7 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติค ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 18-29 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด อยู่ใน รพ.สต. ขนาดกลาง บรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนแล้ว มีรายได้น้อยกว่า 20,000 บาท มีระยะเวลาปฏิบัติงานในตำแหน่งน้อยกว่า 8 ปี ตำแหน่งระดับผู้ปฏิบัติงานมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดเดียวกับสถานที่ทำงาน อยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทศบาลตำบล มีความรู้ ทัศนคติต่อการถ่ายโอนภารกิจสู่ อปท. และประสบการณ์การมีส่วนร่วมดำเนินงานกับ อปท. อยู่ระดับปานกลาง (2) ความคิดเห็นในด้านการบริหารจัดการของ อปท. เพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. โดยรวมอยู่ระดับดี (3) การตัดสินใจถ่ายโอนภารกิจรพ.สต. สู่ อปท. โดยรวมส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเฉยๆหรือไม่แน่ใจ และ (4) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. สู่ อปท. ได้แก่ รายได้ ตำแหน่งหลักในหน่วยงาน ประสบการณ์การมีส่วนร่วมดำเนินงานกับ อปท. และความเห็นต่อการบริหารจัดการของ อปท. เพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. โดยรวม ซึ่งสามารถร่วมอธิบายโอกาสการตัดสินใจถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. สู่ อปท. ได้ร้อยละ 24.0th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุข--การกระจายอำนาจth_TH
dc.titleการตัดสินใจถ่ายโอนภารกิจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดกาญจนบุรีth_TH
dc.title.alternativeThe decision on mission transfer to local administrative organization of sub-district health promoting hospital personnel in Kanchanaburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis cross-sectional research aimed to (1) explore personal factors, knowledge, and attitudes of sub-district health promoting hospitals (SHPHs) personnel, and their experiences in working together with local administrative organizations (LAOs); (2) identify LAO management factors to support the mission transfer; (3) examine the decision on mission transfer; and (4) identify factors affecting decisions, all related to the mission transfer of SHPHs to LAOs. The study involved a sample of 247 officials randomly selected from all 668 SHPH personnel in Kanchanaburi province - the sample size calculated using the Epi Info application with version 5.5.8. Data were collected using a questionnaire with the reliability values of 0.8, 0.9, 0.9, 0.9 and 0.7 for knowledge, attitude, participation experiences, management, and decisions, respectively, related to the mission transfer. Statistics for data analyses were frequency, percentage, mean, standard deviation, and logistic regression. The results demonstrated that, (1) most of the samples were female, aged 18–29 years, finished a bachelor's degree, most of them were single female, had been working at practitioner level in medium-size hospitals, civil servants, had a monthly income of less than 20,000 baht, length of service in the position is less than 8 years, operator position, had a domicile in the sub-district municipality in the same province as the workplace, and had a moderate level of knowledge, attitudes and experiences in the mission transfer and LAO-related work; (2) their opinions on LAO management to support the mission transfer were at a good level; (3) most of them were uninterested or unsure about the decision on the mission transfer; and (4) the factors affecting the decision on the mission transfer included income, main position in the agency, experience in LAO-related work, and opinions about LAO mission transfer management, all of which could 24.0% collectively explain the decision on the mission transfer.en_US
dc.contributor.coadvisorอารยา ประเสริฐชัยth_TH
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.87 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons