Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12774
Title: | การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยววัดที่จังหวัดอุดรธานี ตามแนวทางการพัฒนาเว็บที่ทุกคนเข้าถึงได้สำหรับประเทศไทย สองศูนย์หนึ่งศูนย์ |
Other Titles: | Developing web application for buddhist temples Travel at Udon Thani based on Thailand web content accessibility guidelines 2010 |
Authors: | วฤษาย์ ร่มสายหยุด เข็มเพชร จันเป็ง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร --การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี --การศึกษาเฉพาะกรณี การพัฒนาเว็บไซต์ วัดกับการท่องเที่ยว การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าถึงเนื้อหา เว็บไซต์ TWCAG, 2) เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันที่ทุกคนเข้าถึงได้สำหรับประเทศไทย สองศูนย์ หนึ่งศูนย์ ที่สนับสนุนข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยววัดทางพุทธศาสนาที่จังหวัดอุดรธานี และ 3) เพื่อประยุกต์การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันที่สนับสนุนการสร้างเนื้อหาเว็บที่สามารถเข้าถึงได้ สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ผู้สูงอายุ และผู้พิการ การวิจัยนี้ประกอบด้วยสองขั้นตอนหลักที่สำคัญ โดยขั้นตอนแรกเป็นการพัฒนาเว็บ แอปพลิเคชันที่ทุกคนเข้าถึงได้ ทั้งผู้ใช้งานทั่วไป ผู้สูงอายุ และผู้พิการ โดยทำการสร้างเว็บไซต์ ระบบ จัดการเนื้อหาเว็บไซต์ และการติดตั้งโปรแกรมเสริมกูเกิ้ลแมพส์ เพื่อระบุตำแหน่งปัจจุบัน ค้นหา วัดใกล้เคียง และกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยววัดตามเวลา ขั้นตอนที่สองทำการสร้างชุดสตอรีแมพส์ โดยนำแผนที่และเนื้อหาที่เกี่ยวข้องมาแสดง โดยจัดเรียงลำดับปรากฏการณ์เดียวกันสำหรับสถานที่ที่ ต่างกัน พร้อมทั้งแสดงภาพ วิดีโอ และเว็บเพจที่เกี่ยวกับการการท่องเที่ยวท่องเที่ยววัดที่จังหวัดอุดรธานี จากผลการทดลองพบว่า (1) การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับข้อมูลสถานที่ ท่องเที่ยววัดที่จังหวัดอุดรธานี ตามแนวทางการพัฒนาเว็บที่ทุกคนเข้าถึงได้สำหรับประเทศไทย สองศูนย์หนึ่งศูนย์ ตามคุณลักษณะของเว็บไซต์ภาครัฐที่ควรมีสามารถพัฒนาได้ตรงตาม มาตรฐานทั้ง 8 ข้อ สอดคล้องกับการตรวจสอบมาตรฐาน AAA (แบบมีเงื่อนไข) (2) ผลการ ทดสอบประสิทธิภาพของระบบ สามารถทำงานได้ตามปกติทั้ง 5 ระบบ ได้แก่สมัครสมาชิก บริการข้อมูล จัดการข้อมูลเนื้อหา จัดการข้อมูลการเดินทาง และการจัดการแสดงผล ทั้งหมด 4 ด้าน คือ เวลาในการตอบสนอง ข้อมูลครบถ้วนตรงกับความต้องการ การเข้าถึงง่าย และทำงาน ตรงกับความต้องการ (3) การประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ให้คะแนนด้านเนื้อหาอยู่ในระดับ ดี (x = 4.28 และ S.D. = 0.72) และ (4) ผู้ใช้งานทั่วไป ผู้สูงอายุ และผู้พิการ มีระดับความ พึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก (x = 4.00, S.D. = 0.79) ตามลำดับ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12774 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_161543.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 25.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License