Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12805
Title: | การยับยั้งเชื้อราของวัสดุบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติจากผักตบชวาด้วยสารสกัดจากทองพันชั่งและข่า |
Other Titles: | The fungal inhibition of natural packaging material of water hyacinth by using herbal extracts from Rhinacanthus Nasutus (L.) Kurz and Alpinai Galanga |
Authors: | จีรานุช บุดดีจีน พิชญ์ชาธร บุญเจริญ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
Keywords: | สารสกัดจากพืช ทองพันชั่ง--การใช้ประโยชน์ ข่า--การใช้ประโยชน์ การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีอุตสาหกรรม |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการยับยั้งเชื้อราด้วยสารสกัดจากสมุนไพร ทองพันชั่งและข่า บนก้านผักตบชวา เพื่อเป็นทางเลือกใช้แทนกำมะถันและสารเคมี วิธีการดำเนินการวิจัยเริ่มจากศึกษาการเกิดเชื้อราที่มองเห็นด้วยตาเปล่าเท่านั้น ภายใต้สภาวะ เร่งที่ 99 %RH, 30.25+1.05 °C เป็นระยะเวลา 13 วัน พบว่า ทองพันชั่งสามารถยับยั้งเชื้อราได้ดีกว่าข่า 30.70% และกำมะถัน 39.08% ส่วนข่าจะยับยั้งเชื้อราได้ดีกว่ากำมะถัน 8.38% และ งานวิจัยนี้แสดงผลของ ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการยับยั้งเชื้อราของสารสกัดจากผงสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด เพื่อให้สามารถ ยับยั้งเชื้อราได้อย่างสูงสุด ได้แก่ ระดับความแห้งของก้านผักตบชวาที่กึ่งแห้งและแห้งสนิท, ขนาดความ กว้างของก้านผักตบชวา 2 ขนาด ได้แก่ 5-6 มม. และ 8-10 มม. ที่ความยาว 70 มม. ระยะเวลาของการสกัด (1, 2, 3 และ 7 วัน) ระยะเวลาของการแช่ก้านผักตบชวา (30, 60 และ 120 นาที) และปริมาณการใช้ผง สมุนไพร (15, 30, 45, 60 และ 75 กรัม) ในการสกัดด้วยน้ำต้มสุก 100 °C ปริมาตร 300 มล. ผลการศึกษาพบว่า สภาวะของการเตรียมก้านผักตบชวาและน้ำสารสกัดที่มีประสิทธิภาพ ในการยับยั้งเชื้อราดีที่สุด คือ ก้านผักตบชวาแบบแห้งสนิท ที่ผ่านการแช่ก้านเป็นเวลา 120 นาที ในน้ำสาร สกัดที่ได้จากการใช้ผงสมุนไพรทองพันชั่ง และข่า 75 กรัม และสกัดเป็นเวลา 2 วัน และ 3 วัน โดยที่ขนาด ก้านผักตบชวาจะไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของการยับยั้งเชื้อรา ซึ่งการเพิ่มปริมาณผงสมุนไพร ของทองพันชั่ง และข่า และการเพิ่มระยะเวลาในการสกัดของทองพันชั่ง จะทำให้เกิดเชื้อราสมบูรณ์ 100% ช้าลง การพิจารณาถึงการใช้งาน พบว่า ก้านผักตบชวาที่ผ่านการแช่ในน้ำสารสกัดจะมีค่ามอดุลัสของ ยัง และ ความแข็งแรงแรงดึงลดลงเมื่อเทียบกับก้านผักตบชวาที่ไม่ผ่านการแช่ การทดสอบการใช้งาน โดยการถักขึ้นรูปด้วยมือจากผู้เชี่ยวชาญ 10 ท่าน พบว่าก้านผักตบชวาที่ผ่านการแช่น้ำสารสกัดไม่แตกต่าง กันกับก้านผักตบชวาที่ไม่ผ่านการแช่น้ำสารสกัด ผลที่ได้รับจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ยับยั้งเชื้อรา ในบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติในระดับรัฐวิสาหกิจชุมชน หรือ ผู้ประกอบการ SME ได้ เนื่องจากมีกรรมวิธีการ ผลิตที่ไม่ซับซ้อน ประยุกต์ใช้งานได้จริง และต้นทุนต่ำ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12805 |
Appears in Collections: | Science Tech - Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_159431.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 74.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License