Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12868
Title: | การปฏิบัติทันตสุขภาพสำหรับเด็กของผู้ปกครองที่มีเด็กปฐมวัยฟันผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา |
Other Titles: | Practice for child dental health of guardians having preschool children with dental caries in Child Care Center, Dokkamtai District, Phayao Province |
Authors: | เยาวภา ติอัชสุวรรณ วาริน เขื่อนแก้ว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข- การศึกษาเฉพาะกรณี เด็ก--การดูแลทันตสุขภาพ ฟันผุในเด็ก ทันตกรรมเด็ก การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทางประชากรของผู้ปกครองที่มีเด็กปฐมวัยฟันผุ 2) การปฏิบัติด้านทันตสุขภาพสำหรับเด็กของผู้ปกครองในเรื่องการดูแลรับประทานอาหาร และเครื่องดื่ม 3) การปฏิบัติด้านทันตสุขภาพเรื่องการทำความสะอาดช่องปากและการแปรงฟัน 4) การปฏิบัติด้านทันตสุขภาพเรื่องการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กโดยผู้ปกครองและการพบทันตบุคลากร 5) การปฏิบัติทันตสุขภาพสำหรับเด็กโดยรวมของผู้ปกครองที่มีเด็กปฐมวัยฟันผุ และ 6) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับการปฏิบัติด้านทันตสุขภาพของผู้ปกครองที่มีเด็กปฐมวัยฟันผุประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ปกครองที่มีเด็กปฐมวัยฟันผุ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา จำนวน 300 คน กำหนดขนาดตัวอย่าง 169 คน กำหนดสัดส่วนตัวอย่างของแต่ละศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 11 แห่ง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่าความเชื่อมั่น 0.767 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ไคสแควร์ การทดสอบค่าที ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่มีฟันผุ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 18-66 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีอาชีพเกษตรกรรม รายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 1,001-5,000 บาท สถานภาพสมรส ส่วนใหญ่เป็นมารดาของเด็ก และมีจำนวนเด็กในความดูแล 1 คน 2) การปฏิบัติทันตสุขภาพในเรื่องการดูแลรับประทานอาหารและเครื่องดื่มอยู่ในระดับปานกลาง 3) การปฏิบัติทันตสุขภาพการทำความสะอาด ช่องปากและการแปรงฟันอยู่ในระดับปานกลาง 4) การปฏิบัติทันตสุขภาพในเรื่องการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กโดยผู้ปกครองและการพบทันตบุคลากรอยู่ในระดับปานกลาง 5) การปฏิบัติทันตสุขภาพสำหรับเด็กโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 6) อาชีพมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติด้านการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กโดยผู้ปกครองและการพบทันตบุคลากร และการปฏิบัติทันตสุขภาพโดยรวม จำนวนเด็กในความดูแลมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติทันตสุขภาพด้านการดูแลรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม อาชีพต่างกันมีการปฏิบัติทันตสุขภาพในเรื่องการดูแลรับประทานอาหารและเครื่องดื่มและการตรวจสุขภาพช่องปากโดยผู้ปกครองและพบทันตบุคลากรต่างกัน รายได้ที่ต่างกันมีการปฏิบัติทันตสุขภาพทั้ง 3 ด้านและโดยรวมต่างกัน จำนวนเด็กในความดูแลต่างกันมีการปฏิบัติทันตสุขภาพในเรื่องการดูแลรับประทานอาหารและเครื่องดื่มต่างกันข้อเสนอแนะจากการศึกษา 1) จัดกิจกรรมส่งเสริม สร้างแรงจูงใจ ในเรื่องการเลือกรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม การทำความสะอาดช่องปากและการแปรงฟัน การตรวจสุขภาพช่องปากเด็กโดยผู้ปกครองและพบทันตบุคลากรในกลุ่มผู้ปกครองที่มีรายได้น้อย ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และแม่บ้าน/พ่อบ้าน/ไม่ได้ทำงาน 2) จัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้แก่ผู้ปกครองเด็กในทุกด้านเริ่มตั้งแต่ฟันยังไม่ขึ้น ในคลีนิคเด็กดี ในสถานบริการ และ 3) แนะนำการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มให้ผู้ปกครองที่มีเด็กในความดูแลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12868 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_148410.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License