Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12875
Title: | คู่มือการปฏิบัติงานรังสี : การจัดท่าถ่ายภาพกระดูกรยางค์ส่วนบนด้วยท่าพิเศษ |
Other Titles: | Manual for radiological procedure: special radiographic positions of Upper limb bones |
Authors: | สมโภช รติโอฬาร ศิริณัฏฐ์ อินทเชื้อ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ -- การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข -- การศึกษาเฉพาะกรณี กระดูก รังสีเอกซ์ การบันทึกภาพด้วยรังสี การศึกษาอิสระ-- ริหารสาธารณสุข |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง คู่มือการปฏิบัติงานรังสี : การจัดท่าถ่ายภาพกระดูกรยางค์ส่วนบนด้วยท่าพิเศษมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมการจัดท่าถ่ายภาพกระดูกรยางค์ส่วนบนด้วยท่าพิเศษ 2)วิเคราะห์ข้อมูลการจัดทำถ่ายภาพกระดูกรยางค์ส่วนบนด้วยท่าพิเศษและ 3) จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของแผนกรังสีวินิจฉัย ในการจัดท่าถ่ายภาพรังสีกระดูกรยางค์ส่วนบนด้วยท่าพิเศษ วิธีการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมรายชื่อภาพถ่ายทางรังสีท่าพิเศษของกระดูกรยางค์ ส่วนบน ย้อนหลัง 1 ปี ที่แผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีแล้วทำการสืบค้น รวบรวมข้อมูลการจัดท่าถ่ายภาพกระดูกรยางค์ส่วนบนด้วยท่าพิเศษจากตำราอินเทอร์เน็ต และแหล่งข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์เชิงเนื้อหา และจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของแผนกรังสีวินิจฉัย ในการจัดท่าถ่ายภาพกระดูกรยางค์ส่วนบนด้วยท่าพิเศษประกอบด้วย ชื่อท่าพิเศษ ข้อบ่งชี้หลัก การจัดท่าจุดกึ้งกลางของแสงตก สิ่งที่แสดงในภาพถ่ายรังสี ภาพถ่ายรังสีที่ได้จากการจัดท่า ข้อควรระวัง และตารางค่าปริมาณรังสี ประเมินคุณภาพคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญได้แก่ แพทย์รังสี 1 คน ศัลยแพทย์ 1 คน และผู้ปฏิบัติงานด้านรังสีการแพทย์ 10 คน เลือกผู้เชียวชาญอย่างเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ คือ แบบสอบถามประเมินคุณภาพคู่มือการปฏิบัติงาน และแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก สร้างโดยผู้ศึกษา ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาค้นคว้าอิสระ พบว่า 1) รายชื่อการจัดท่าถ่ายภาพกระดูกรยางค์ส่วนบนด้วยท่าพิเศษ สามารถรวบรวมได้ทั้งหมด 25 ท่า 2) การวิเคราะห์และบันทึกการจัดท่ากระดูกรยางค์ส่วนบนด้วยท่า พิเศษประกอบด้วย การถ่ายภาพหัวไหล่ 5 ท่า,ไหปลาร้า 4 ท่า,ข้อศอก 4 ท่า ข้อมือ 9 ท่า และมือ 3 ท่า 3) จัดทำคู่มือการจัดท่าถ่ายภาพกระดูกรยางค์ส่วนบนด้วยท่าพิเศษ ผลการประเมินคุณภาพคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าคู่มือการจัดท่าถ่ายภาพกระดูกรยางค์ส่วนบนด้วยท่าพิเศษ จัดอยู่ในระดับดีมาก มีการเรียบเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ มีการนำเสนอที่ชัดเจนสมควรได้รับการสนับสนุนเพื่อจัดทำเป็นคู่มือการปฏิบัติงาน ผลการประเมินคุณภาพคู่มือโดยผู้ปฏิบัติงานด้านรังสี พบว่าเนื้อหาถูกต้องตามหลักวิชาชีพรังสีเข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้จริง สมควรได้รับการสนับสนุนเพื่อจัดทำเป็นคู่มือการปฏิบัติงานประจำแผนกรังสีวินิจฉัย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12875 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_152464.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License