Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12929
Title: การสื่อสารเพื่อสร้างแบรนด์ “Pone Yang Kham”
Other Titles: Communications process to create the “Pone Yang Kham” Brand
Authors: สุภาภรณ์ ศรีดี
กชมล พงษ์วัชรนนท์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
หัสพร ทองแดง
Keywords: การสื่อสาร
การสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการสื่อสารแบรนด์ "Pone Yang Kham" และ 2) ปัญหาและอุปสรรคการสร้างแบรนด์ "Pone Yang Kham" การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์แบบเชิงลึก ใช้เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึกกึ้งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน แบ่งเป็น 5 กลุ่มได้แก่ (1) กลุ่มผู้บริหารสหกรณ์โคขุนโพนยางคำ 4 คน (2) กลุ่มผู้ออกแบบแบรนด์ 6 คน (3) กลุ่มนักวิชาการ 2 คน (4) กลุ่มเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 2 คน (5) หัวหน้าฝ่ายควบคุม จำนวน 1 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสื่อสารแบรนด์ "Pone Yang Kham" มี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ SWOI ระบุกลุ่มเป้าหมายระดับบนรายได้สูง จุดแข็งของแบรนด์ คือ เนื้อเกรดคุณภาพ จุดอ่อนของแบรนด์ คือ ขั้นตอนการขุนเนื้อมีหลายขั้นตอน โอกาสของแบรนด์ คือ เป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงมานาน รัฐบาลสนับสนุน และราคาถูกกว่าเนื้อโคขุนต่างประเทศในขณะที่คุณภาพระดับเดียวกัน อุปสรรคของแบรนด์ คือขาดการสนับสนุนเงินทุนในการพัฒนานวัตกรรม กระบวนการผลิตให้ทันสมัย ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบ แบรนด์เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งชื่อ สโลแกน ตราสัญลักษณ์ ขั้นตอนที่ 3 การสร้างอัตลักษณ์แบรนด์มีลักษณะการขุนด้วยอาหารสูตรพิเศษอาหารผสมสูตรของสหกรณ์ที่ปราศจากสารเร่งการเจริญเติบโตและสารปฏิชีวนะทุกชนิด ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติการสื่อสารแบรนด์ใช้สื่อประชาสัมพันธ์ผ่านบุคคลที่มีชื่อเสียงสะท้อนถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์และเว็บสังคมออนไลน์รุ่นใหม่ ผู้ใช้สามารถเข้าดูสื่อโสตทัศน์ได้ ขั้นตอนที่ 5การยกระดับแบรนด์ การพัฒนาการตลาดเชิงรุกเพื่อขยายฐานลูกค้า และการสร้างความหลากหลายผลิตภัณฑ์ขั้นตอนที่ 6 การบริหารคุณค่าของแบรนด์ การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งจะเป็นการรับรองและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคโดยนำระบบการชำแหละเนื้อให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร การผลิตผลิตภัณฑ์เป็นเกณฑ์ควบคุมการผลิตและตราฮาลาลตราที่ติดบนสลากผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับมุสลิมใช้บริโภค 2) ปัญหาและอุปสรรคการสร้างแบรนด์ ได้แก่ (1) การวางแผน และออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์โดยนักวิชาการ ไม่มีการสานต่อ และไม่มีการทำข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และ (2) ไม่มีการจัดสรรงบประมาณในการสื่อสารแบรนด์อย่างต่อเนื่องหลังจากการสร้างแบรนด์แล้ว
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12929
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.68 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons