Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12957
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำการเกษตรแบบผสมผสานของเกษตรกรในอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
Other Titles: Factors affecting farmers' decision making on integrated farming in Kabinburi District, Prachinburi Province
Authors: นารีรัตน์ สีระสาร
ณัฐสิมา บริบูรณ์, 2537-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
Keywords: เกษตรกรรมแบบผสมผสาน
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการทำการเกษตรแบบผสมผสาน 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำการเกษตรแบบผสมผสาน และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำเกษตรแบบผสมผสานประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เกษตรกรผู้ทำเกษตรแบบผสมผสานที่เข้าร่วมโครงการ ปี 2564/65 ในอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 192 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 130 คน โดยวิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสุงสูด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ เฉลี่ย 58.02 ปี มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.37 คน จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา พื้นที่ทำการเกษตรเป็นของตนเอง มีจำนวนแรงงานทำการเกษตรแบบผสมผสาน เฉลี่ย 2.13 คน มีประสบการณ์ทำการเกษตรเฉลี่ย 12.28 ปี มีรายได้ของครัวเรือนจากภาคการเกษตรเฉลี่ย 110,796.19 บาทต่อปี มีรายจ่ายของครัวเรือนจากภาคการเกษตรเฉลี่ย 29,965.00 บาทต่อปี มีต้นทุนในการผลิตทางการเกษตรแบบผสมผสานเฉลี่ย 21,393.85 บาทต่อปี มีผลผลิตทางการเกษตรเฉลี่ย1,141.38 กิโลกรัมต่อไร่ 2) สภาพพื้นที่ทำการเกษตรเป็นที่ราบลุ่ม มีรูปแบบการทำการเกษตรแบบผสมผสาน มีลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย ใช้ปุ๋ยคอกในการปรับปรุงบำรุงดิน มีแหล่งน้ำในการทำการเกษตรใช้น้ำจากสระ/บ่อน้ำ ของตนเอง 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำการเกษตรแบบผสมผสานของเกษตรกร มีตัวแปรอิสระ 1 ตัวแปร คือ ประสบการณ์การทำเกษตร ที่มีผลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 4) เกษตรกรมีปัญหาเรื่องดินขาดความอุดมสมบูรณ์ แหล่งน้ำทางการเกษตรไม่เพียงพอ สำหรับข้อเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำในการทำการเกษตร ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการวางแผน/บริหารความเสี่ยงในการทำการเกษตร สนับสนุนเครื่องจักรกลทางการเกษตร และสร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่หันมาทำการเกษตร
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12957
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.75 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons