Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12974
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
Other Titles: | Factors influencing the adoption of soil analysis for fertilizer use by rice farmer in Wang Noi District Phra Nakhon Si Ayutthaya Province |
Authors: | นารีรัตน์ สีระสาร ธวัชชัย บุญกลาง, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ข้าว--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม ข้าว--ปุ๋ย--ไทย--พระนครศรีอยุธยา ดิน--การวิเคราะห์ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการปลูกข้าวและการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตข้าวของเกษตรกร 3) ความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกร 4) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกรประชากรในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ผ่านการอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ในพื้นที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 250 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเนที่มีความตลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 155 ราย และใช้วิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.90 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา แรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือน เฉลี่ย 2.03 คน เกษตรกรมีประสบการณ์ทำนาเฉลี่ย 17.10 ปี และมีประสบการณ์ด้านการฝึกอบรมใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเฉลี่ย 1.36 ครั้งต่อปี รายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ยอยู่ที่ 234,522.58 บาทต่อปี ต้นทุนการทำนาเฉลี่ย 5,021.94 บาทต่อไร่ 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ข้าว กข41 และไม่มีการปรับปรุงดินก่อนการทำนา โดยใช้ปุ๋ยเฉลี่ย 25 กิโลกรัมต่อไร่ 3) เกษตรกรมีความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในการผลิตข้าวอยู่ในระดับมาก 4) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกร ในประเด็นประสบการณ์ในการเข้ารับการฝึกอบรมด้านการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ระดับความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน 5) เกษตรกรมีปัญหาการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ในประเด็นขาดความรู้เรื่องการตรวจวิเคราะห์ดินมากที่สุด ข้อเสนอแนะหน่วยงานภาครัฐควรให้บริการเก็บตัวอย่างดินแก่เกษตรกร |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12974 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License