Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12988
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นิตยา เพ็ญศิรินภา | th_TH |
dc.contributor.author | ปฏิพัทธ์ วุฒิวิทยารักษ์, 2523- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2025-01-06T02:53:51Z | - |
dc.date.available | 2025-01-06T02:53:51Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12988 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) อัตราการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของข้าราชการทหารที่สำนักงานแพทย์ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย (สนพ.) (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความสามารถในการเข้าถึงบริการสุขภาพ และปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของข้าราชการทหารที่ สนพ. (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดังกล่าวกับการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ สนพ. (4) อิทธิพลของปัจจัยดังกล่าว ต่อการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ สนพ. และ (5) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื่อรังที่ สนพ.การวิจัยเป็นแบบสำรวจเชิงวิเคราะห์ ประชากรที่ศึกษา คือ ข้าราชการทหารสังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย ที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงและ/หรือโรคเบาหวาน จำนวน 6,324 คน กลุ่มตัวอย่าง 350 คน ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิตามหน่วยงาน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามมีความเที่ยงระหว่าง 0.80-0.94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยพบว่า (1) อัตราการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของข้าราชการทหาร ที่ สนพ. เท่ากับ ร้อยละ 67.14 (2) ข้าราชการทหารที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังส่วนใหญ่เป็นชาย อายุเฉลี่ย 49.63 ปี มีสถานภาพสมรสจบการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน 30,001-40,000 บาท เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีระยะเวลาที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี และไม่มีโรคประจำตัวชนิดอื่น ปัจจัยด้านความสามารถในการเข้าถึงบริการสุขภาพอยู่ในระดับสูง สำหรับด้านคุณภาพบริการพบว่าอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (3) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่าคุณภาพบริการด้านความเข้าใจผู้มารับบริการ และด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการบริการมีความสัมพันธ์กับการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังฯ ที่ สนพ. (4) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังฯ ที่ สนพ.พบเพียงตัวแปรเดียวคือ ความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการบริการ โดยสามารถอธิบายโอกาสที่ข้าราชการจะไปใช้บริการรักษาที่ สนพ. ได้เป็น 1.94 เท่า (95% CI, 1.02-3.72) และ (5) ผู้เข้ารับบริการให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ เพิ่มจำนวนที่จอดรถให้เพียงพอต่อการบริการ ควรแก้ไขปัญหาการขาดแคลนยา ผู้เข้ารับบริการควรได้รับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเมื่อร้องขอ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของข้าราชการทหารที่สำนักงานแพทย์ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Factors affecting the use of non-communicable diseases treatment services of Military Officers at Medical Office, Royal Thai Armed Forces Headquarters | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The research objectives were to explore: (1) the rate of using of non-communicable diseases (NCD) treatment services; (2) personal factors, health service accessibility factors, and service quality factors of NCD treatment; (3) association of these factors and the use of NCD treatment services; (4) influence of these factors towards the use of NCD treatment; and (5) problems, obstacles and recommendations for improving the quality of NCD treatment services, all involving military officers attending the Medical Office (MEDO) at the Royal Thai Armed Forces Headquarters.This study was an analytical survey conducted in a sample of 350 military officers at the Royal Thai Armed Forces Headquarters selected using stratified random sampling out of 6,324 military officers with NCD, which were hypertension and/or diabetes mellitus. The data collection tool was a questionnaire with the reliability value of 0.80–0.94. Data was analyzed using descriptive statistics, Chi-square test and binary logistic regression analysis.The results showed, among all respondents attending MEDO, that: (1) The rate of using of NCD treatment services at MEDO was 67.14%; (2) most of them were married men aged 49.63 years on average, graduated with a bachelor’s degree, had a monthly income of 30,001–40,000 baht, had hypertension or NCD for <5 years and no other underlying diseases. For service accessibility, the level of satisfaction was high. (3) Based on the service quality analysis, empathy and reliability were associated with the use of NCD treatment services. (4) The only factor influencing the use of NCD treatment services was reliability, which could enhance the chance of using such services at MEDO to 1.94-fold (95% CI, 1.02-3.72). (5) According to the clients’ suggestions, more parking spaces should be designated in relation to the number of clients, drug shortages should be resolved, and customers should receive laboratory results upon request. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | เอกพล กาละดี | th_TH |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License