Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13004
Title: การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
Other Titles: Communication for promoting community-based tourism of Thung Wa Sub-district Administrative Organization in Thung Wa District, Satun Province
Authors: กานต์ บุญศิริ
นงลักษณ์ ธรรมชูโชติ, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วิทยาธร ท่อแก้ว
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์
การท่องเที่ยวโดยชุมชน--ไทย--สตูล
วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว--ไทย
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสาร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลทุ่งหว้า เกี่ยวกับ 1) กระบวนการสื่อสาร และ 2) การจัดการสื่อสาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) ผู้ส่งสารเป็นหน่วยงานที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ ที่ว่าอำเภอทุ่งหว้า เทศบาลตำบลทุ่งหว้า องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาเทศบาลตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจการท่องเที่ยว กลุ่มผู้ประกอบการโฮมสเตย์ กลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าชุมชนและแม่ค้า กลุ่มแม่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มไกด์และมัคคุเทศก์น้อย และกลุ่มนักท่องเที่ยว (2) เนื้อหาสาร คือ มรดกภูมิปัญญาของชุมชน ด้านวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา ด้านศิลปะการแสดง ด้านแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และงานเทศกาล ด้านความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาลด้านงานช่างฝีมือดั้งเดิม และด้านการละเล่นพื้นบ้าน กีฬา และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว (3) สื่อ มีสื่อดั้งเดิมประกอบด้วย สื่อบุคคล สื่อพื้นบ้านประเพณีวัฒนธรรม กิจกรรม สิ่งพิมพ์ เอกสาร แผ่นพับ แผ่นป้าย และรถแห่สื่อมวลชน ส่วนสื่อใหม่ ประกอบด้วย เฟซบุ๊ก "ThungWa Villager" เฟซบุ๊กขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้าเพจของชุมชนท่องเที่ยวและเพจถ้ำเลสเตโกดอน Line กลุ่มโฮมสเตย์ทุ่งหว้า กลุ่มทุ่งหว้าโฮมสเตย์สุไหงอุเปย้อนยุค กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านทุ่งหว้า กลุ่มท่องเที่ยวท่าอ้อย กลุ่มถ้ำเลสเตโกดอน กลุ่มสวนควนข้องหม้อข้าวหม้อแกงลิง กลุ่มรองเท้านารีคุณปรีดา กลุ่มของฝากท่าอ้อย กลุ่มไอติมคนรักดีและกลุ่มฉิม เมล่อน (4) ผู้รับสารเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว (5) ผลการสื่อสารการท่องเที่ยวชุมชน คือ การพัฒนาจากจุดเริ่มต้นการก่อตั้งกลุ่มท่องเที่ยวสุไหงอุเป (ทุ่งหว้า) จนกลายเป็นวิสาหกิจการท่องเที่ยวทุ่งหว้าที่ประสบความสำเร็จ 2) การจัดการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) ก่อตัวจากนโยบายของจังหวัดสตูล อำเภอทุ่งหว้า และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว (2) การรวมตัวของชุมชนและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ (3) การกำหนดภารกิจและหน้าที่ของแต่ละฝ่ายตามความถนัดและเชี่ยวชาญ (4) ร่วมกันวางแผนการสื่อสาร (5) ร่วมกันปฏิบัติการการสื่อสารตลอดปี (6) ร่วมกันจัดปัจจัยสนับสนุนด้านการสื่อสารในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน และ (7) ร่วมกันประเมินผลเพื่อปรับปรุงการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.(นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13004
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.87 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons