Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13026
Title: | การพยากรณ์ทิศทางการระบาดและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออกด้วยวิธีการทางสารสนเทศภูมิศาสตร์ และเทคนิคเหมืองข้อมูลในเขตพื้นที่ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี |
Other Titles: | Forecasting Direction and Analyzing Dengue Risk Areaby using Geographic Information and Data Mining in Bangmaenang Sub-District, Bangyai District, Nonthaburi Province |
Authors: | ณัฐพร เห็นเจริญเลิศ สกาวรัตน์ สุวิชญาศิริ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา รัตนะ บุลประเสริฐ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์ ไข้เลือดออก--การแพร่ระบาด ภูมิศาสตร์การแพทย์--ไทย--นนทบุรี |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการพยากรณ์ทิศทางการระบาดและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออก 2) เพื่อพยากรณ์ทิศทางการระบาดและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออก และ 3) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพความแม่นยำของอัลกอริทึมในการพยากรณ์ พื้นที่ศึกษาวิจัย คือ ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 235 ราย ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงคุณลักษณะและเชื่อมโยงข้อมูลด้วยวิธีการทางสารสนเทศภูมิศาสตร์ ปัจจัยที่คัดเลือกทั้งหมด 9 ปัจจัย ได้แก่ 1) การใช้ประโยชน์ที่ดิน 2) จำนวนแปลงที่ดิน 3) ความหนาแน่น 4) ช่วงอายุ 5 กลุ่มวัย 5) เพศ 6) ปริมาณน้ำฝน 7) ความชื้นสัมพัทธ์ 8) อุณหภูมิ และ 9) ดัชนีความร้อน จากนั้นดำเนินการสร้างแบบจำลองในการพยากรณ์ด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล ทั้งหมด 3 อัลกอริทึม ได้แก่ วิธีต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree) อัลกอริทึม CART (Classification and Regression Tree) วิธีต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree) อัลกอริทึม ID3 (Iterative Dichotomiser 3) และ วิธีป่าสุ่ม (Random Forest)ผลการวิจัยพบว่าแบบจำลองที่สร้างจากวิธีต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree) อัลกอริทึม ID3 (Iterative Dichotomiser 3) เป็นแบบจำลองการพยากรณ์ที่ดีสุดในการวิจัยนี้ โดยมีค่าความถูกต้อง (Accuracy) สูงถึง 98% และมีค่าประสิทธิภาพโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 98% โดยปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการพยากรณ์ 3 อันดับแรกที่ควรเลือกใช้ในการพยากรณ์ ได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน จำนวนแปลงที่ดิน และความหนาแน่น ผลการพยากรณ์ทิศทางการระบาด พบว่าแบบจำลองสามารถพยากรณ์และวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง ระดับความเสี่ยง และจำนวนครัวเรือนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงได้ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13026 |
Appears in Collections: | Science Tech - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2649600240.pdf | 12.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.