Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13050
Title: | Communication for Participation in the Circular Economy Usage for Managing Marine Debris at Libong Island Sub-district, Trang Province การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อจัดการขยะทะเล ตำบลเกาะลิบง จังหวัดตรัง |
Authors: | วิทยาธร ท่อแก้ว เพชรดา อ้อชัยภูมิ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์ กรกช ขันธบุญ สมาน งามสนิท |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์ การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน--ไทย--ตรัง ขยะและการกำจัดขยะ--ไทย--ตรัง |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการขยะทะเลตำบลเกาะลิบง จังหวัดตรัง 2) การจัดการการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการขยะทะเลตำบลเกาะลิบง จังหวัดตรัง 3) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการขยะทะเลตำบลเกาะลิบง จังหวัดตรัง และ 4) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการขยะทะเลตำบลเกาะลิบง จังหวัดตรังการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการขยะทะเลตำบลเกาะลิบง จังหวัดตรัง 5 กลุ่ม รวมจำนวน 33 คน ประกอบด้วย 1) ผู้กำหนดนโยบายในการสื่อสาร 3 คน 2) แกนนำในการดำเนินการสื่อสาร 11 คน 3) กลุ่มผู้ประกอบการ 4 คน 4) นักวิชาการด้านการสื่อสาร และนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม 2 คน และ 5) กลุ่มประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล โดยการสร้างข้อสรุปผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทการสื่อสาร มีปัญหาขยะทะเลในตำบลเป็นจำนวนมากในช่วงฤดูมรสุม ซึ่งเกิดจากประชาชนขาดการสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการจัดการขยะ ขาดประสิทธิภาพในการจัดการขยะบนบก ขยะทำลายระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง เกิดกระทบต่อการประกอบอาชีพประมง และภาพลักษณ์การท่องเที่ยว รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการจัดการขยะผ่านองค์การบริหารส่วนตำบล ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมที่มีความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติมีความตื่นตัวและเข้าใจปัญหาร่วมกันในการจัดการปัญหาขยะด้วยตนเอง แต่ขาดแผนงานและแนวทางปฏิบัติการสื่อสารในการให้ความรู้ ปรับทัศนคติ และพฤติกรรม 2) การจัดการการสื่อสาร ประกอบด้วยการวางแผนการสื่อสารและการใช้สื่อมีการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารและจัดประเด็นสารให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ และวิถีชีวิตของชุมชน มุ่งใช้สื่อที่ง่ายต่อการเข้าถึงและมีอยู่แล้วในท้องถิ่น โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนเกาะลิบงยั่งยืน “ทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม” และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) วางแผนร่วมกัน ส่วนการดำเนินงานการสื่อสารโดยใช้สื่อบุคคลและการประชุมปรึกษาหารือ โดยผู้นำชุมมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและ อสม.เป็นผู้ดำเนินการ สำหรับการติดตามผลการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยคณะทำงานจากตัวแทนคณะกรรมการขับเคลื่อนเกาะลิบงยั่งยืน ผู้แทนมูลนิธิอันดามัน โดยดำเนินการประเมินผลทุก 6 เดือน และการปรับปรุงการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง โดยนำผลจากการติดตามมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์และวิธีการสื่อสาร 3) กลยุทธ์การสื่อสาร มุ่งใช้กลยุทธ์การให้ความรู้เพื่อให้เกิดความตระหนักและพร้อมในการจัดการขยะด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างถูกวิธี ใช้กลยุทธ์โน้มน้าวใจเพื่อให้คล้อยตามและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยมุ่งชี้ผลกระทบของปัญหาที่รุนแรงในอนาคต ใช้กลยุทธ์การใช้สื่อบุคคลในรูปแบบการประชุม เสียงตามสาย ป้ายประกาศ เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างการรับรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียนในครัวเรือนของทุกกลุ่มเป้าหมาย และใช้กลยุทธ์การสร้างภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาคองค์กรไม่แสวงหากำไรเพื่อร่วมเป็นพลังสนับสนุนการขับเคลื่อนการจัดการขยะอย่างยั่งยืน “ทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม” และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ และร่วมประเมินผลเพื่อความเป็นเอกภาพในการแก้ปัญหา และ 4) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร ประกอบด้วย 1) จัดตั้งคณะทำงานในการขับเคลื่อนการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการขยะทะเล เพื่อเป็นกลไกในการบูรณาการการสื่อสารร่วมกับภาคีเครือข่ายในระดับองค์กรและพื้นที่ มีพันธกิจและเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกัน นำบุคคลต้นแบบมาเป็นเครื่องมือช่วยการสื่อสารให้สอดคล้องกับแรงจูงใจของประชาชน นักท่องเที่ยว นำหลักการตลาดมาบูรณาการเข้ากับการสื่อสาร นำกลุ่มที่เป็นต้นแบบในการจัดการขยะทะเลด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาร่วมเป็นเครือข่ายสนับสนุน 2) มุ่งให้เกิดการขยายผลการจัดการขยะทะเลผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มชุมชนหรือเครือข่ายอื่นในสังคมอย่างกว้างขวางเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติและมีพฤติกรรมที่ดีในด้านการจัดการขยะที่ต้นทาง ซึ่งจะป้องกันขยะลงสู่ทะเล และสร้างระบบประเมินผลความสำเร็จของการสื่อสารทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13050 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
4631500305.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.