Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13059
Title: | รูปแบบการจัดการการสื่อสารในงานกิจการสภาเทศบาล |
Other Titles: | Communication Management Model in Municipal Council Affairs |
Authors: | วิทยาธร ท่อแก้ว มนูญ วิวรรณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์ กานต์ บุญศิริ จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์ |
Keywords: | การบริหารองค์การ การสื่อสารในองค์การ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวความคิดและนโยบายการจัดการการสื่อสารในงานกิจการสภาเทศบาล 2) กระบวนจัดการการสื่อสารในงานกิจการสภาเทศบาล และ 3) รูปแบบการจัดการการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในงานกิจการสภาเทศบาลการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลที่ได้รับรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปีงบประมาณ 2565-2566 ของคณะกรรมการกระจายอำนาจ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 3 แห่ง รวมจำนวน 24 คน คือ 1) เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 2) เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) เทศบาลตำบลทับมา จังหวัดระยอง ซึ่งผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย 1) นายกเทศมนตรี 3 คน 2) ประธานสภา 3 คน 3) เลขานุการสภา 3 คน 4) สมาชิกสภาเทศบาล 6 คน 5) ตัวแทนชุมชน 6 คน และ 6) ผู้เชี่ยวชาญการสื่อสาร 3 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปผลการวิจัย พบว่า 1) แนวความคิดและนโยบายการจัดการการสื่อสารในงานกิจการสภาเทศบาล ประกอบด้วยแนวความคิดหลัก ได้แก่ การสื่อสารระหว่างสมาชิกสภาในฐานะผู้แทนประชาชนกับประชาชนในชุมชน และสมาชิกสภากับฝ่ายบริหารของเทศบาลในพันธกิจที่สำคัญ คือ การสื่อสารในการประชุมสภาสมัยสามัญและสมัยวิสามัญเพื่อปฏิบัติงานตามกรอบบทบาทหน้าที่ตามกฎหมาย การสื่อสารเพื่อศึกษาปัญหาของประชาชนเชิงลึกเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน การสื่อสารรับเรื่องราวร้องทุกข์สื่อสารไปยังฝ่ายบริหารของเทศบาล การสื่อสารเพื่อเผยแพร่ความรู้ในการปกครองและการดำรงชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข การสื่อสารเพื่อการสร้างความเป็นพลเมืองที่กระตือรือร้นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมมีความรับผิดชอบในหน้าที่ในการพัฒนาเทศบาลของตนเอง และการสื่อสารผลงานของงานด้านกิจการสภาเทศบาลในการทำหน้าที่ในสภาเทศบาลและหน้าที่นอกสภาเทศบาลเพื่อสร้างการรับรู้กับประชาชนในฐานะผู้เลือกสมาชิกสภาเข้ามาทำงาน ส่วนนโยบายการจัดการการสื่อสาร คือ การจัดการการสื่อสารทุกรูปแบบไปยังกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายด้วยเนื้อหาที่เลือกสรรเฉพาะผ่านช่องทางและสื่อที่เหมาะสมตามกลุ่มผู้รับสารที่แตกต่างกัน 2) กระบวนจัดการการสื่อสารในงานกิจการสภาเทศบาล ประกอบด้วย การวางแผนการสื่อสารโดยมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน กำหนดกลยุทธ์การสื่อสารทางด้านเนื้อหา ช่องทางการสื่อสาร และสื่อต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ดำเนินการออกแบบสาร ผลิตสื่อ ให้น่าสนใจ ชวนติดตาม เผยแพร่ตามช่องทางต่าง ๆ ที่กำหนด ประเมินผลการสื่อสารโดยกำหนดกรอบแนวคิดการประเมินที่ชัดเจนและครอบคลุม ดำเนินการประเมินผลการรับรู้ ความรู้ ความเข้าใจ และความพึงพอใจในการจัดการการสื่อสารด้วยวิธีเชิงปริมาณและคุณภาพ นำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนายกระดับการสื่อสารให้มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น และ 3) รูปแบบการจัดการการสื่อสารในงานกิจการสภาเทศบาลให้มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย มุ่งทบทวนแนวความคิด นโยบาย กระบวนการ และกลยุทธ์การสื่อสารที่สอดคล้องกับบริบทการสื่อสารเฉพาะพื้นที่และสภาพปัญหาของแต่ละเทศบาล การสร้างสรรค์ในการผลิตสื่อให้น่าสนใจตามลักษณะของผู้รับสารในแต่ละประเภทโดยคำนึงถึงผู้รับสารในแต่เจนเนอเรชันด้วย พัฒนาทักษะการสื่อสารดิจิทัลโดยเฉพาะการออกแบบเนื้อหาและการผลิตสื่อให้กับบุคลากรที่รับผิดชอบการสื่อสารของเทศบาล พัฒนาทักษะการสื่อสารให้กับประธานสภาสภาเทศบาล รองประธานสาภาเทศบาลและสมาชิกสภาเทศบาล ด้านการพูดในที่ชุมชน การโน้มน้าวใจ การเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ การเจรจาต่อรอง การพูดในการทำหน้าที่ในสภาเทศบาล การพูดนำเสนอสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนจากการร้องทุกข์ การประสานงานกับผู้บริหารเทศบาลและผู้นำชุมชน การออกแบบสารและสื่อสมัยใหม่ และการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมืออาชีพที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้รับสารอย่างยั่งยืน |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13059 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
4641500105.pdf | 5.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.