Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13060
Title: | การสื่อสารของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างองค์กรดิจิทัล |
Other Titles: | Communication of the Local Government Leaders to Create a Digital Organization |
Authors: | หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล ปวีร์รวี อินนุพัฒน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ปิยฉัตร ล้อมชวการ จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์ |
Keywords: | ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทักษะการสื่อสาร วิธีการสื่อสาร องค์กรดิจิทัล |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทักษะการสื่อสารของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างองค์กรดิจิทัล 2) วิธีการสื่อสารของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างองค์กรดิจิทัล และ 3) แนวทางการสื่อสารของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างองค์กรดิจิทัล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลหลัก 40 คน โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลท้องถิ่นดิจิทัล ประจำปี 2564 จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู จังหวัดแม่ฮ่องสอน เทศบาลเมืองป่าตอง จังหวัดภูเก็ต และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก จังหวัดพิษณุโลก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสรุปผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะการสื่อสารของผู้นำเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัล ประกอบด้วย ทักษะในการนำเสนอ ทักษะในการจูงใจ และทักษะการแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ต่าง ๆ มีผลต่อการขับเคลื่อนสู่การเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) วิธีการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) ใช้การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ทำให้เกิดความร่วมมือของบุคลากร ในทุกระดับและกับประชาชนในพื้นที่เพื่อสร้างการยอมรับและใช้เทคโนโลยีควบคู่กับองค์กร (2) การสื่อสารด้วยบุคคลต้นแบบ ซึ่งผู้นำที่มีการใช้เทคโนโลยีในการทำงานจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากรในองค์กร (3) การสื่อสารกับสาธารณชน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในความโปร่งใสของภาครัฐ โดยเน้นเนื้อหาสารที่เกี่ยวกับการปรับกระบวนการคิดของบุคลากรในองค์กรสร้างแรงจูงใจในการปรับกระบวนการทำงาน ด้วยการเพิ่มทักษะการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสร้างบรรยากาศจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัล 3) แนวทางการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) การสื่อสารวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กรที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรดิจิทัลเพื่อให้บุคลากรทั้งองค์กรเข้าใจและรับรู้ถึงความสำคัญและมีการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกระดับ (2) การสื่อสารเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรผ่านบุคคลต้นแบบสู่องค์กรดิจิทัล โดยส่งเสริมให้บุคลากรใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการทำงาน เช่น กำหนดวันดิจิทัล หรือการจัดตั้งกลุ่มดิจิทัล แชมเปียนส์ (3) การสื่อสารเพื่อจูงใจให้ปรับกระบวนการทำงานสอดคล้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลลดขั้นตอนการทำงานลง (4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาทักษะดิจิทัลของบุคลากรเพื่อลดความกังวลการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ (5) การสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ที่เข้าถึงได้ตลอดเวลา และ 6) การประเมินผลการสื่อสารอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงทักษะการสื่อสารและวิธีการสื่อสารของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13060 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
4641500261.pdf | 4.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.