Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13085
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorWARANGKANA DUMRIen
dc.contributorวรางคณา ดำริห์th
dc.contributor.advisorAnnop Jeenawathanaen
dc.contributor.advisorอรรณพ จีนะวัฒน์th
dc.contributor.otherSukhothai Thammathirat Open Universityen
dc.date.accessioned2025-01-24T08:24:33Z-
dc.date.available2025-01-24T08:24:33Z-
dc.date.created2024
dc.date.issued31/5/2024
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13085-
dc.description.abstractThe objectives of this research were to study (1) the level of work life quality of teachers in Nakhon Rangsit Network Group; and (2) guidelines for development work life quality of teachers in Nakhon Rangsit Network Group under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2.The research sample consisted of 161 teachers in Nakhon Rangsit Network Group under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2, determined based on the Krejcie and Morgan’s Sample Size Table and obtained by stratified random sampling.  The key research informants were five educational personnel including the associate director of Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2, school administrators, and assistant of school administrators, who had experiences and administrative competencies.  The employed research instruments were a rating scale questionnaire on developing work life quality of teacher, with reliability coefficient of .98, and a structured interview form concerning guidelines for developing work life quality of teacher.  Research data were analyzed using the frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis.The research findings showed that (1) both the overall and specific aspects of work life quality of teachers in Nakhon Rangsit Network Group were rated at the high level; the specific aspects of work life quality could be ranked based on their rating means from top to bottom as follows: that of the progress and stability; that of the opportunity for development of self-capability; that of the administration based on the legal principles; that of being a society of work collaboration; that of the safety environment with health promotion; that of the involvement and the benefits to the society; that of the balance between work life and personal life; and that of the  providing adequate and fair compensation, respectively; (2) the guidelines for developing work life quality of the teachers, it was found that the school administrators should: (2.1) support the creation of online platforms to be a source of information on student development, and development of learning management in order to verify quality of work performance for evaluation of the results of salary promotions in each round; (2.2) develop the digital technology system to be suitable for work system to be used as a device or equipment for instruction; (2.3) develop the school to be safe and conductive place to various activities; (2.4) develop teachers to have and use knowledge on psychology for children to be the mentor of students in the new era; (2.5) support teachers to develop  academic works that come from creative thinking and publish through social media channels; (2.6) focus on teachers prioritizing work and personal life so as to manage their time to according to their needs; and (2.7) give the community an opportunity to recognize the results of work within the schools through the schools’ social media.en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูกลุ่มเครือข่ายนครรังสิต และ (2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูกลุ่มเครือข่ายนครรังสิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2                  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูกลุ่มเครือข่ายนครรังสิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 161 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และ มอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ ผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ ได้แก่ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา และรองผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีประสบการณ์และมีความสามารถเป็นที่ยอมรับด้านการบริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู มีค่าความเที่ยง .98 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา                  ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูกลุ่มเครือข่ายนครรังสิต ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคง ด้านโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถของตนเอง ด้านการบริหารงานโดยยึดหลักนิติธรรม ด้านการเป็นสังคมแห่งการทำงานร่วมกัน ด้านสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านความเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อสังคม ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว และด้านการให้สิ่งตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ตามลำดับ และ (2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควร (2.1) สนับสนุนการสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ ให้เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลการพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อใช้ในการตรวจสอบคุณภาพในการปฏิบัติงาน เพื่อประเมินผลการเลื่อนขั้นเงินเดือนในแต่ละรอบ (2.2) พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความเหมาะสมกับระบบงาน ใช้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอน (2.3) พัฒนาสถานศึกษาให้ปลอดภัยและเอื้อต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ (2.4) พัฒนาครูให้มีและใช้ความรู้ด้านจิตวิทยาสำหรับเด็ก เพื่อเป็นที่พึ่งของนักเรียนยุคใหม่ (2.5) สนับสนุนให้ครูพัฒนาผลงาน และนำผลงานทางวิชาการที่เกิดจากการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์  (2.6) มุ่งเน้นให้ครูจัดลำดับความสำคัญของงานกับชีวิตส่วนตัว ทำให้สามารถบริหารเวลาได้ตามความต้องการ และ (2.7) เปิดโอกาสให้ชุมชนรับรู้ผลการปฏิบัติงานภายในสถานศึกษา ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของสถานศึกษาth
dc.language.isoth
dc.publisherSukhothai Thammathirat Open University
dc.rightsSukhothai Thammathirat Open University
dc.subjectแนวทางการพัฒนา คุณภาพชีวิตการทำงาน ครู ประถมศึกษาth
dc.subjectGuidelines for developmenten
dc.subjectWork life qualityen
dc.subjectTeacheren
dc.subjectPrimary educationen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationEducationen
dc.titleGuidelines for Development Work Life Quality of Teachers in Nakhon Rangsit Network Group under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2en
dc.titleแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู กลุ่มเครือข่ายนครรังสิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2th
dc.typeIndependent Studyen
dc.typeการศึกษาค้นคว้าอิสระth
dc.contributor.coadvisorAnnop Jeenawathanaen
dc.contributor.coadvisorอรรณพ จีนะวัฒน์th
dc.contributor.emailadvisor[email protected]
dc.contributor.emailcoadvisor[email protected]
dc.description.degreenameMaster of Education in Educational Administration (M.Ed. (Educational Administration))en
dc.description.degreenameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
dc.description.degreedisciplineMaster of Education (Educational Administration)en
dc.description.degreedisciplineศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษาth
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2612300307.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.