Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13120
Title: The Relationship Between Ethical Leadership of School Administrators and Organization Commitment of Teachers under the Secondary Educational Service Area Office Singburi Angthong
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันที่มีต่อองค์การของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง
Authors: PIMPATCHARA SARANIT
พิมพ์พัชรา สาระนิตย์
Koolchalee Chongcharoen
กุลชลี จงเจริญ
Sukhothai Thammathirat Open University
Koolchalee Chongcharoen
กุลชลี จงเจริญ
[email protected]
[email protected]
Keywords: ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ความผูกพันที่มีต่อองค์การ มัธยมศึกษา
Ethical leadership
Organization commitment
Secondary education
Issue Date:  25
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this research were (1) to study the ethical leadership level of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Singburi Angthong; (2) to study the organization commitment level of teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office Singburi Angthong; and (3) to study the relationship between ethical leadership of school administrators and organization commitment of teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office Singburi Angthong. The research sample consisted of 285 teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office Singburi Angthong during the 2022 academic year, obtained by stratified random sampling based on school size and then simple random sampling.  The sample size was determined based on the use of Krejcie and Morgan’s Sample Size Table.  The employed research tool was a questionnaire on ethical leadership of school administrator and organization commitment of teacher in school, with reliability coefficients of .96 and .92, respectively.  Statistics employed for data analysis were the frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and Pearson correlation coefficient. The research findings revealed that (1) both the overall and specific aspects of ethical leadership of the school administrators had the rating means at the high level; the specific aspects of ethical leadership could be ranked from top to bottom based on their rating means as follows: that of the responsibility, that of the honesty, that of the respect, that of the justice, and that of the trustworthy, respectively; (2) the overall organization commitment of the teachers had the rating mean at the high level; when specific aspects of their organization commitment were considered, they had the rating means at the high to highest levels; specific aspects of organization commitment could be ranked from top to bottom based on their rating means as follows: that of the devotion and willingness to perform the work of the organization, that of being a good member of the organization, that of the loyalty and faithfulness to the organization, and that of the acceptance of the organization’s goals and values, respectively; and (3) ethical leadership of the school administrators had positive correlation with organization commitment of the teachers at the moderate level that was significant at the .01 level of statistical significance.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง (2) ศึกษาระดับความผูกพันที่มีต่อองค์การของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันที่มีต่อองค์การของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทองกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง ปีการศึกษา 2565 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 285 คน จากนั้นทำการสุ่มแบบชั้นภูมิตามขนาดของโรงเรียน และการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันที่มีต่อองค์การของครูในสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 และ .92 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัย พบว่า (1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความเคารพนับถือ  ด้านความยุติธรรม และด้านความไว้วางใจ ตามลำดับ (2) ความผูกพันที่มีต่อองค์การของครูในสถานศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดและระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความทุ่มเทเต็มใจที่จะปฏิบัติงานขององค์การ ด้านการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ด้านความจงรักภักดีที่มีต่อองค์การ และด้านการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ ตามลำดับ และ (3) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันที่มีต่อองค์การของครูในสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13120
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2622301469.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.