Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13264
Title: | ทัศนคติความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการคุ้มครองสิทธิของที่ดิน ศึกษากรณีแนวเขตในแปลงที่ดินที่มีการรังวัดด้วยระบบโครงข่าย การรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ในพื้นที่รับผิดชอบ ของสำนักงานที่ดินจังหวัดสุโขทัย |
Other Titles: | Attitudes and confidence in land rights protection: a case study of land boundaries surveyed by RTK GNSS Network in Sukhothai Provincial Land Office |
Authors: | พนมพัทธ์ สมิตานนท์ สมโภช พึ่งบุญ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | ทัศนคติความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการคุ้มครองสิทธิของที่ดิน แปลงที่ดินที่มีการรังวัดด้วยระบบ โครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ สำนักงานที่ดินจังหวัดสุโขทัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการคุ้มครองสิทธิ ของที่ดิน (2) ศึกษาเปรียบเทียบระดับความเชื่อมั่นของประชาชน ต่อการคุ้มครองสิทธิของที่ดินจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของประชาชนกับความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการคุ้มครองสิทธิของที่ดินและ (4) ปัญหา ข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไขต่อการคุ้มครองสิทธิในที่ดิน ศึกษากรณี แนวเขตในแปลงที่ดินที่มีการรังวัดด้วยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานที่ดินจังหวัดสุโขทัยการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ประชาชนที่มายื่นคำขอรังวัดเฉพาะราย ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดสุโขทัย ประจำปีงบประมาณ 2564 จำนวน 652 คน โดยการสุ่มตัวอย่างประชากร จำนวน 248 คน โดยใช้สูตรคำนวณหากลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ ผู้วิจัยเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม และเลือกสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ ความแปรปรวน และ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการคุ้มครองสิทธิของที่ดิน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x=3.52 S.D.=0.14) (2) ผลเปรียบเทียบระดับความเชื่อมั่นของประชาชน ต่อการรังวัดด้วยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ ใน แนวคิดการไม่ต้องรับรองแนวเขตในแปลงที่ดิน สำหรับแปลงที่ดินที่เคยทำการรังวัดด้วยระบบ โครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ แล้ว ขึ้นอยู่กับทุกปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นด้าน เพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา มีผลความเชื่อมั่นไม่แตกต่างกัน (3) ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการรังวัดที่ดินด้วยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ มีความสัมพันธ์กับระดับความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อแนวคิดการไม่ต้องรับรองแนวเขตในแปลงที่ดินที่มีการรังวัดด้วยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ แล้ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (4) ปัญหาที่พบคือ การขอรับบริการ มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ขาดการประชาสัมพันธ์จากเจ้าหน้าที่ให้ประชาชนได้รับทราบ และการรังวัดเจ้าหน้าที่ทำงานล่าช้า ใช้เวลานานในการรอคอยการได้รับเอกสารสิทธิ์ ในส่วนของข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขนั้น ควรปรับปรุงคิวรังวัดให้ระยะเวลาสั้นลง ลดขั้นตอนการให้บริการที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และจัดเตรียมเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวก ชี้แจง แนะนำการให้บริการในขั้นตอนต่างๆ แก่ประชาชน พร้อมทั้งดำเนินการปรับปรุง แก้ไข กฎหมาย กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ อย่างเร่งด่วน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13264 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2613004148.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.