Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13264
Title: Attitudes and Confidence in Land Rights Protection: A Case Study of Land Boundaries Surveyed by RTK GNSS Network in Sukhothai Provincial Land Office
ทัศนคติความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการคุ้มครองสิทธิของที่ดิน  ศึกษากรณีแนวเขตในแปลงที่ดินที่มีการรังวัดด้วยระบบโครงข่าย การรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ในพื้นที่รับผิดชอบ ของสำนักงานที่ดินจังหวัดสุโขทัย
Authors: SOMPOTE PHUENGBUN
สมโภช พึ่งบุญ
Phanompatt Smitananda
พนมพัทธ์ สมิตานนท์
Sukhothai Thammathirat Open University
Phanompatt Smitananda
พนมพัทธ์ สมิตานนท์
[email protected]
[email protected]
Keywords: ทัศนคติความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการคุ้มครองสิทธิของที่ดิน  แปลงที่ดินที่มีการรังวัดด้วยระบบ  โครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์  สำนักงานที่ดินจังหวัดสุโขทัย
Attitude and confidence towards the protection of land rights
Land plots that have been systematically surveyed. RTK GNSS Network
Sukhothai Provincial Land Office
Issue Date:  29
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The purposes of this study were: (1)  to study the level of public confidence in the protection of land rights, (2) to undergo comparative study of public confidence levels towards the protection of land rights classified by personal factors, (3) to survey the relationship between the attitudes and  confidence in the protection of land rights, and  (4) to identify issues, offer suggestions, and propose solutions for land rights protection: A case study of land boundaries surveyed by the RTK GNSS Network in the jurisdiction of the Sukhothai Provincial Land Office.This study employed quantitative research methods. The population under investigation consisted of individuals who submitted survey applications at the Sukhothai Provincial Land Office during the fiscal year 2021, totaling 652 people. A sample of 248 people was selected using Yamane's sample calculation formula through random sampling. The research tools utilized included questionnaires and various statistical analyses, such as frequency, percentage, mean, standard deviation, analysis of variance, Pearson correlation, with a confidence level set at 95 percent.The results of the study found that (1) the level of confidence of the people in the protection of land rights. Overall was at a high level (x=3.52 S.D.=0.14). (2) The results of comparing the level of public confidence in surveying with a kinetic satellite surveying network system, based on the concept of not needing to certify boundary lines in land plots, showed consistent confidence levels across all factors, including gender, age, occupation, and educational levels. There was no discernible difference in confidence results.  (3) The public's attitude towards land surveying using the kinetic satellite surveying network system was significantly correlated with their confidence in the notion of not requiring certification for boundary lines in land plots previously surveyed with this system, with statistical significance at the 0.001 level. (4) The identified problems include a complicated process for requesting services, a lack of public relations efforts by officials to inform the public, and surveying officials working late, resulting in lengthy wait times for receiving rights documents. As for suggestions and solutions, the survey queue should be streamlined to reduce wait times, complex service steps should be simplified, and staff should be trained to assist, explain, and recommend services at various stages. Additionally, there is a need to improve and amend laws and regulations that hinder officials' work, which is urgent.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการคุ้มครองสิทธิ ของที่ดิน (2) ศึกษาเปรียบเทียบระดับความเชื่อมั่นของประชาชน ต่อการคุ้มครองสิทธิของที่ดินจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของประชาชนกับความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการคุ้มครองสิทธิของที่ดินและ (4) ปัญหา ข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไขต่อการคุ้มครองสิทธิในที่ดิน ศึกษากรณี แนวเขตในแปลงที่ดินที่มีการรังวัดด้วยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานที่ดินจังหวัดสุโขทัยการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ประชาชนที่มายื่นคำขอรังวัดเฉพาะราย ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดสุโขทัย ประจำปีงบประมาณ 2564 จำนวน 652 คน โดยการสุ่มตัวอย่างประชากร จำนวน 248 คน โดยใช้สูตรคำนวณหากลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ ผู้วิจัยเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม  และเลือกสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ ความแปรปรวน และ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการคุ้มครองสิทธิของที่ดิน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x=3.52 S.D.=0.14) (2) ผลเปรียบเทียบระดับความเชื่อมั่นของประชาชน ต่อการรังวัดด้วยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ ใน แนวคิดการไม่ต้องรับรองแนวเขตในแปลงที่ดิน สำหรับแปลงที่ดินที่เคยทำการรังวัดด้วยระบบ โครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ แล้ว ขึ้นอยู่กับทุกปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นด้าน เพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา มีผลความเชื่อมั่นไม่แตกต่างกัน (3) ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการรังวัดที่ดินด้วยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ มีความสัมพันธ์กับระดับความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อแนวคิดการไม่ต้องรับรองแนวเขตในแปลงที่ดินที่มีการรังวัดด้วยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ แล้ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (4) ปัญหาที่พบคือ การขอรับบริการ มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ขาดการประชาสัมพันธ์จากเจ้าหน้าที่ให้ประชาชนได้รับทราบ และการรังวัดเจ้าหน้าที่ทำงานล่าช้า ใช้เวลานานในการรอคอยการได้รับเอกสารสิทธิ์ ในส่วนของข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขนั้น ควรปรับปรุงคิวรังวัดให้ระยะเวลาสั้นลง ลดขั้นตอนการให้บริการที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และจัดเตรียมเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวก ชี้แจง แนะนำการให้บริการในขั้นตอนต่างๆ แก่ประชาชน พร้อมทั้งดำเนินการปรับปรุง แก้ไข กฎหมาย กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ อย่างเร่งด่วน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13264
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2613004148.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.