Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13283
Title: | ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน ของกรมสรรพสามิตในส่วนกลาง |
Other Titles: | Organizational culture factors affecting the achievement of Central Excise Department |
Authors: | จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์ นุสรา บุตระ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | วัฒนธรรมองค์การ ค่านิยม ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน กรมสรรพสามิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์การของกรมสรรพสามิตในส่วนกลาง (2) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของกรมสรรพสามิตในส่วนกลาง (3) ศึกษาปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของกรมสรรพสามิตในส่วนกลาง (4) เสนอแนะแนวทางการสร้างวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของกรมสรรพสามิตในส่วนกลาง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณ คือ บุคลากรกรมสรรพสามิต ในส่วนกลาง จำนวน 1,177 คน และกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 299 คน ซึ่งคำนวณโดยใช้สูตร ของทาโร่ ยามาเน่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ แบบขั้นตอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้หลักการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับวัฒนธรรมองค์การของกรมสรรพสามิตในส่วนกลาง สูงกว่าระดับปานกลาง โดยปัจจัยค่านิยมในการทำงานของข้าราชการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (2) ระดับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของกรมสรรพสามิตในส่วนกลางมากกว่าร้อยละ 70 ซึ่งจัดอยู่ในระดับมาก โดย มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (3) ปัจจัยค่านิยมในการทำงานของข้าราชการ เป็นตัวแปรลำดับแรกที่เข้าสู่สมการถดถอย ปัจจัยค่านิยมกรมสรรพสามิต และปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรของกรมสรรพสามิต เข้าสู่สมการถดถอยเป็นลำดับที่ 2 และ 3 ตามลำดับโดยปัจจัยค่านิยม ในการทำงานของข้าราชการ สามารถอธิบายความผันแปรเรื่องผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของกรมสรรพสามิตในส่วนกลางได้สูงสุด มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนดิบเท่ากับ .474 ปัจจัยค่านิยมกรมสรรพสามิต และปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรกรมสรรพสามิต เท่ากับ .275 และ .213 ตามลำดับ เมื่อรวมตัวแปรทุกตัวเข้าด้วยกันแล้ว มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น .922 และสามารถอธิบายความผันแปรเรื่องผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของกรมสรรพสามิตในส่วนกลาง ได้ร้อยละ 85.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) แนวทางในการสร้างวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของกรมสรรพสามิตในส่วนกลาง ได้แก่ การปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่บ่มเพาะความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เป้าหมาย และความพึงพอใจ ส่งเสริมระดับการมีส่วนร่วมและประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น ส่งเสริมการทำงานร่วมกันจะกระตุ้นนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ บุคลากรมีแนวโน้มที่จะแบ่งปันแนวคิด ทดลอง และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามากขึ้น เมื่อรู้สึกว่าได้รับอำนาจและได้รับการสนับสนุน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13283 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2633002619.pdf | 3.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.