Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13295
Title: Factors Affecting Success of Participation in Preventing and Solving Drug Problems Among People in Mueang Chumphon District, Chumphon Province
ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดของประชาชนในเขตอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
Authors: CHANAKARN PRASANWUT
ชนากานต์ ประสารวุฒิ
Kittipong Keatwatcharachai
กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย
Sukhothai Thammathirat Open University
Kittipong Keatwatcharachai
กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย
[email protected]
[email protected]
Keywords: ปัจจัยที่มีผล ผลสัมฤทธิ์ การมีส่วนร่วม การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
Factors affecting
Success
Participation
Participation in prevention and solving drug problems
Mueang Chumphon District
Chumphon Province
Issue Date:  17
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this research were to (1) study the level of participation in preventing and solving drug problems among people in Mueang Chumphon District, Chumphon Province (2) comparative study of outcome of participation in preventing and solving drug problems among people in Mueang Chumphon District, Chumphon Province by classify difference personal factors (3) study the factors affecting the outcome of participation in preventing and solving drug problems among people in Mueang Chumphon District, Chumphon Province and (4) utilize the findings as guidelines to promote local participation of the public sector in preventing and solving drug problems in the long term.This research is a quantitative study. The population under study consisted of 149,520 people residing in Mueang Chumphon District. The sample size was determined to be 399 people using Taro Yamane formula by using questionnaires as a tool of data collection. The reliability scale of questionnaires is 0.95. The statistics used in data analysis included descriptive statistics; frequency, percentages, means, standard deviations and inferential statistics; finding the t-test/f-test, regression.The results of the study indicated that, (1) the level of participation in preventing and solving drug problems of the people as a whole was at a low level. (2) important factors that explained the level of participation in preventing and solving drug problems were personal factors and external factors. As for personal factors, it was found that educational levels, occupations, and different length of stay in the area showed a significant difference in the level of achievement of participation in preventing and solving drug problems at the 0.05 level. External factors including government support and information support were found to have a direct positive variation (R = 0.508) with participation in preventing and solving drug problems outcome. The predictive power on the overall quality of working life was 85.3% and (3) the study offers guidelines for promoting public participation: such as eliminating the fear of involvement by having administrative officials/ police officers and community leaders subdue local influential people, and publicizing and organizing projects related to drug problem and prevention more constantly and regularly.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประชาชนในเขตอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประชาชนในเขตอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร จำแนกปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน (3) ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ของประชาชนในเขตอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร และ (4) เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในระยะยาวการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษาคือผู้ที่มีภูมิลำเนาในเขตอำเภอเมืองชุมพร จำนวน 149,520 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้ 399 คน ด้วยสูตรทาโร ยามาเน่ โดยใช้เครื่องมือคือแบบสอบถาม ซึ่งการทดสอบเครื่องมือได้ค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การหาค่า t-test/f-test และการหาค่าการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประชาชนโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (2) ปัจจัยสำคัญที่สามารถนำไปอธิบายระดับการมีส่วนร่วม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในส่วนปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ระดับการศึกษา อาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกัน มีระดับผลสัมฤทธิ์ของการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยภายนอก ได้แก่  การสนับสนุนจากภาครัฐ  และการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารพบว่า มีการแปรผันตามกันในเชิงบวก (R = 0.508) กับผลสัมฤทธิ์ของการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดซึ่งสามารถพยากรณ์คุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวม ได้ร้อยละ 85.3 และ (3) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนคือการขจัดความกลัวที่จะเข้ามา มีส่วนร่วม โดยฝ่ายปกครอง/ตำรวจ/ผู้นำชุมชน ต้องทำงานอย่างจริงจังในการป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13295
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2643000249.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.