Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13295
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดของประชาชนในเขตอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร |
Other Titles: | Factors affecting success of participation in preventing and solving drug problems among people in Mueang Chumphon District, Chumphon Province |
Authors: | กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย ชนากานต์ ประสารวุฒิ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | ปัจจัยที่มีผล ผลสัมฤทธิ์ การมีส่วนร่วม การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประชาชนในเขตอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประชาชนในเขตอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร จำแนกปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน (3) ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ของประชาชนในเขตอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร และ (4) เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในระยะยาวการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษาคือผู้ที่มีภูมิลำเนาในเขตอำเภอเมืองชุมพร จำนวน 149,520 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้ 399 คน ด้วยสูตรทาโร ยามาเน่ โดยใช้เครื่องมือคือแบบสอบถาม ซึ่งการทดสอบเครื่องมือได้ค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การหาค่า t-test/f-test และการหาค่าการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประชาชนโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (2) ปัจจัยสำคัญที่สามารถนำไปอธิบายระดับการมีส่วนร่วม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในส่วนปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ระดับการศึกษา อาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกัน มีระดับผลสัมฤทธิ์ของการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยภายนอก ได้แก่ การสนับสนุนจากภาครัฐ และการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารพบว่า มีการแปรผันตามกันในเชิงบวก (R = 0.508) กับผลสัมฤทธิ์ของการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดซึ่งสามารถพยากรณ์คุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวม ได้ร้อยละ 85.3 และ (3) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนคือการขจัดความกลัวที่จะเข้ามา มีส่วนร่วม โดยฝ่ายปกครอง/ตำรวจ/ผู้นำชุมชน ต้องทำงานอย่างจริงจังในการป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13295 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2643000249.pdf | 1.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.