Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13308
Title: การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลของนักปกครองท้องที่ กรณีศึกษา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
Other Titles: Participation in the Subdistricts Development Plan of Provincial Administrative Officers: A Case Study of Mueang Uttaradit District, Uttaradit Province
Authors: กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย
สกุณา อยู่สุวรรณ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย
Keywords: การมีส่วนร่วม แผนพัฒนาตำบล นักปกครองท้องที่ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลของนักปกครองท้องที่ กรณีศึกษา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ (2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลของนักปกครองท้องที่ กรณีศึกษา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์                  การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา คือ นักปกครองท้องที่ ได้แก่  กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 550 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน 232 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น  2 ส่วน (1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลของ นักปกครองท้องที่ กรณีศึกษา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แก่ ปัจจัยจูงใจ ประกอบด้วย ความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล การได้รับการยอมรับนับถือ  ลักษณะงานที่ก่อให้เกิดการพัฒนา และ ปัจจัยค้ำจุน ประกอบด้วย  ความสัมพันธ์ภายในตำบล มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลของนักปกครองท้องที่ กรณีศึกษา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (2) ผลการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลของนักปกครองท้องที่ กรณีศึกษา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีนโยบายในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลอย่างต่อเนื่องและให้ความสำคัญ กับการปรับรูปแบบวิธีการ ในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าถึงและมีส่วนร่วมมากขึ้นเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13308
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2643001577.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.