กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13311
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 – 2570) ขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors Influencing Public Participation in Local Development Plan (2023 - 2027) of Lak Sam Subdistrict Administrative Organization,Ban Phaeo District, Samut Sakhon Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย สุนันทา ปรีดาชม |
คำสำคัญ: | ปัจจัยที่มีอิทธิพล การมีส่วนร่วมของประชาชน การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม จังหวัดสมุทรสาคร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 - 2570) ขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ มีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 - 2570) ขององค์การบริหารส่วนตำบล หลักสาม (3) ปัญหา ความต้องการ และอุปสรรค เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 - 2570) ขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสามการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนในเขตพื้นที่ ขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 15,221 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามสูตรของ ทาโร่ยา มาเน่ ได้จำนวน 390 คน โดยสุ่มตัวอย่าง แบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 - 2570) ขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยด้าน การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และปัจจัยทางด้านสังคม มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 - 2570) ขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัญหาความต้องการ และอุปสรรค เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ การเพิ่มช่องทางในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม อาทิเช่น การจัดทำประชาพิจารณ์ออนไลน์ รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์รายงานความคืบหน้า และรายงานผลการดำเนินโครงการต่างๆ ให้ประชาชนได้รับทราบเป็นระยะเพื่อสร้างการรับรู้ ให้กับประชาชนผู้ได้รับประโยชน์ในพื้นที่อย่างทั่วถึง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13311 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2643001692.pdf | 1.5 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น