Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13323
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อกระบวนการจัดการความรู้ของกรมศุลกากร |
Other Titles: | Factors related to knowledge management of the customs department |
Authors: | พนมพัทธ์ สมิตานนท์ ปองขวัญ ศิริกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | การจัดการความรู้ ข้าราชการ กรมศุลกากร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับกระบวนการจัดการความรู้ของกรมศุลกากร (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อกระบวนการจัดการความรู้ของกรมศุลกากร และ(3) นำเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบและวิธีการในการจัดการความรู้ของกรมศุลกากรการศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 และข้อที่ 2 และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการของกรมศุลกากร จำนวน 4,142 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 365 คน โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากการสัมภาษณ์ จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการพรรณนาผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับกระบวนการจัดการความรู้ของกรมศุลกากรในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ การค้นหา/บ่งชี้ความรู้ การสร้างและการแสวงหาความรู้ การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้ (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อกระบวนการจัดการความรู้ ของกรมศุลกากร คือ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และปัจจัยด้านแรงจูงใจของบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 และ (3) แนวทางการพัฒนารูปแบบและวิธีการในการจัดการความรู้ของกรมศุลกากร คือ ควรมีการวิเคราะห์องค์ความรู้ที่จำเป็นขององค์กร รวบรวมปัญหาอุปสรรค จัดทำแผนการสื่อสารด้านการจัดการความรู้ และเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกระดับได้มีส่วนร่วมในการวางแผนและออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการและลักษณะงานในความรับผิดชอบของตนเอง รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบและเข้าถึงได้ง่าย นอกจากนี้ควรมีการสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ผ่านการสร้างเครือข่ายความรู้ และควรมีการจัดทำระบบประเมินผลการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13323 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2643002328.pdf | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.