กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13341
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorจำเนียร ราชแพทยาคมth_TH
dc.contributor.authorอโณทัย เถลิงนวชาติth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2025-01-24T08:37:35Z-
dc.date.available2025-01-24T08:37:35Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13341en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของระดับความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานอัยการสูงสุด (2) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานอัยการสูงสุด (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ  กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานอัยการสูงสุด (4) เสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานอัยการสูงสุดการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานอัยการสูงสุด ส่วนกลางจาก 41 สำนักงาน จำนวนทั้งสิ้น 2,042 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโรยามาเน่  ได้ตัวอย่าง 335 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิแบ่งสัดส่วนและแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ศึกษาคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ภาพรวมของระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานอัยการสูงสุด อยู่ในระดับมาก (2) ภาพรวมของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานอัยการสูงสุด ภาพรวม อยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยด้านตัวงาน ด้านสุขภาพและ ความเป็นอยู่ที่ดี ด้านสภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวก ด้านโอกาสในการเรียนรู้และการพัฒนา ด้านผู้บริหาร ด้านหัวหน้างาน ด้านองค์การ และด้านทีมงาน มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร ในระดับปานกลาง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 (4) แนวทางในการการส่งเสริมความผูกพันต่อองค์การ คือ ผู้บริหารควรเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม บริหารงานอย่างเป็นธรรม ควรมีการวางแผนสืบทอดตำแหน่งสำคัญ มีกลไกการบริหารทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ ควรสร้างวัฒนธรรมองค์การที่มุ่งให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน มีการสื่อสารภายในองค์การที่ดี ให้อิสระทางความคิด เน้นการทำงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ สร้างการมีส่วนร่วมในการทำงาน และมีสวัสดิการที่เหมาะสมth_TH
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectความผูกพันของบุคลากร  สำนักงานอัยการสูงสุดth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการศึกษาเฉพาะกรณี--บริหารรัฐกิจth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันของบุคลากรในสำนักงานอัยการสูงสุดth_TH
dc.title.alternativeFactors relating the engagement of Personnel of the Attorney General's Officeen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจ)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to (1) study opinions on organizational engagement level of personnel of the Attorney General's Office (2) study opinions on factors relating the engagement of personnel of the Attorney General's Office (3) study the relationship between factors and engagement of personnel of the Attorney General's Office (4) recommendation guidelines to strengthen the engagement of personnel of the Attorney General's Office.This study was a quantitative research. The population of this study was 2,042 personnel from 41 offices of the Attornat’s General Office Headquarter.  The size of samples was determined by using Taro Yamane’s calculation formula and obtained 335 samples. The sampling method used stratified random and accidental sampling methods. Research instrument was a questionnaire. Statistics for data analysis employed percentage, mean, standard deviation and Pearson Product Moment Correlation.The findings of this study revealed that  (1) an overview of organizational commitment level of personnel of the Attorney General’s Office was at high level (2) an overview of  opinions on factors relating the engagement of personnel of the Attorney General's Office was at high level  (3) factors on job, health, quality of good life, positive environment, learning opportunity and development, leader, supervisor, organization and teamwork had positively correlated with the engagement at moderate level at statistically significant at 0.01 level (4) recommendation guidelines were that the leaders should be good role model, had morality, fare administration, had succession plan, systematic human resources management and development,  create organizational cultures that built good relation between each other, internal communication, freedom of thought, result based management, teamworking and appropriate fringe benefits.en_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2643004050.pdf1.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น