Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13393
Title: Factors Influencing Human Resource Development of Personnel in Ministry of Energy
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรกระทรวงพลังงาน
Authors: WILAIPHORN PHETKUL
วิไลภรณ์ เพ็ชร์กูล
Ranee Esichaikul
ราณี อิสิชัยกุล
Sukhothai Thammathirat Open University
Ranee Esichaikul
ราณี อิสิชัยกุล
[email protected]
[email protected]
Keywords: ปัจจัยองค์การ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
บุคลากรกระทรวงพลังงาน
Organizational factors
Human Resource Development
Ministry of Energy
Personnel
Issue Date:  21
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this study are to: (1) examine the level of human resource development of personnel in Ministry of Energy; (2) compare human resource development of personnel in Ministry of Energy, classified by personal factors; (3) analyze factors influencing the level of human resource development of personnel in Ministry of Energy; and (4) propose guidelines for human resource development for personnel in Ministry of Energy.This study employed exploratory research. The population of this study comprised 602 personnel of the Office of the Permanent Secretary of Ministry of Energy, serving in both central and regional government. A sample size of 240 was determined using Taro Yamane's formula. Stratified proportional random sampling was adopted. A questionnaire was utilized as a research instrument. Statistics for data analysis included mean, percentage, standard deviation, Pearson's correlation coefficient, and multiple regression analysis.The results revealed that: (1) the overall level of human resource development of Ministry of Energy personnel was at a high level. The lifelong development aspect of the organization was at a high level, followed by the learning aspect respectively. (2) Personnel with personal factors in terms of different age and education had the different level of human resource development at statistical significance level of 0.05. (3) Organizational factors influencing human resource development of Ministry of Energy in terms of top management support, commitment from experts and general practitioners, and learning patterns had a positive relationship at statistical significance level of 0.05.  These factors jointly account for 78.30% of the variance in human resource development outcomes for Ministry of Energy personnel. (4) Guidelines for human resource development include supporting and encouraging personnel to continuously learn and develop skills, knowledge and experience. Experts should commit to sharing knowledge, and provide skills for personnel.  This will increase the commitment to work and develop working skills for personnel.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรกระทรวงพลังงาน (2) เปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรกระทรวงพลังงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรกระทรวงพลังงาน (4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรกระทรวงพลังงานการศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน กระทรวงพลังงานที่ปฏิบัติงานในราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 602 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 240 คน การสุ่มตัวอย่างเป็นแบบชั้นภูมิชนิดสุ่มเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรกระทรวงพลังงาน          ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการพัฒนาตลอดชีวิตในองค์การอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (2) บุคลากรที่มีอายุและระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีการรับรู้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยองค์การที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรกระทรวงพลังงาน 3 ด้าน ได้แก่         การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง ความมุ่งมั่นจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ชำนาญทั่วไป และรูปแบบการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และร่วมกันมีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรกระทรวงพลังงานได้ ร้อยละ 78.30 (4) แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ การสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรเรียนรู้พัฒนาทักษะความรู้และประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญควรมีความมุ่งมั่นที่จะแบ่งปันความรู้ ทักษะให้แก่บุคลากรอย่างเต็มที่ ซึ่งจะส่งผลต่อความมุ่งมั่นในการทำงานและเกิดการพัฒนาทักษะในการทำงานของบุคลากรมากยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13393
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2653002101.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.