Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13421
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPHUTHANES PHUHADen
dc.contributorภูธเนศ ภูหาดth
dc.contributor.advisorInkarat Doljemen
dc.contributor.advisorอิงครัต ดลเจิมth
dc.contributor.otherSukhothai Thammathirat Open Universityen
dc.date.accessioned2025-01-24T08:47:33Z-
dc.date.available2025-01-24T08:47:33Z-
dc.date.created2024
dc.date.issued20/11/2024
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13421-
dc.description.abstractThis thesis aims to (1) study evolution, concepts ,and theories regarding the use of assistive technology in medical reproduction by means of surrogacy, (2) study the laws regarding the use of medical assisted reproductive technology by means of surrogacy in Thailand, Canada, and the Commonwealth of Australia (Queensland), (3)analyze problems regarding legal measures in the use of medical assisted reproductive technology by means of surrogacy, (4)recommend guidelines for amending the laws regarding the use of medical assisted reproductive technology by means of surrogacy to be effective.This thesis is qualitative research by researching documents from legal texts, books, articles, academic documents, research, theses, and information from the internet in both Thai and foreign languages ​​to amend laws to be effective.The results of the study found that (1) the use of medical assisted reproductive technology by means of surrogacy has evolved from infertility treatment in the past using artificial insemination and later evolving into a method of surrogacy. The concept appears from the need to inherit human life, solve physical defects, overcome the limitations of nature, and help those who are unable to have children or those suffering from infertility. The state has enacted laws to control surrogacy so that it is not used illegally. The theories that the state uses to enact laws that have criminal penalties are the theory of criminal responsibility and the theory of criminal punishment. (2) Thailand's legal measures appear in the Protection Of a Child Born By Medically Assisted Reproductive Technology Act, B.E.2558 (2015), Canadian measures appear in the Assisted Human Reproductive Act, and Commonwealth measures Australia (Queensland) appears in the Surrogacy Act 2010. (3) in the Canadian law, the penalties for prohibiting the import and export of sperm, eggs, or embryos are higher than the Thai law, both imprisonment and fines in both specifying penalties for creating, maintaining, and using inactivating and selecting the gender of an embryo carries criminal penalties, unlike Thai law, which only has ethical penalties for medical professionals. In the laws of the Commonwealth of Australia (Queensland) has clearly established legal measures that are different from Thai law, namely the definition of commercial surrogacy and the definition of affordable surrogacy expenses, which are clearly defining the scope of liability of medical personnel specify the protection of information or objects of those involved and determining comprehensive child protection after the child is born. The law of Thailand does not specify legal measures that have criminal penalties to be clear and comprehensive enough to provide protection and efficiency in controlling setup operations. (4) there should be amendments to the Act on the Protection of Children Born by Medical Assisted Reproductive Technology Act, B.E.2558 (2015) by using the mechanisms of the Organic Act on State Audit B.E. 2562 (2019), to solve such problems to be effective in the future. By specifying legal measures to clarify both the definition and the scope of liability. Set penalties to be effective in intimidating and deterring the commission of crimes. Specify specific measures to protect information or objects of children born through surrogacy and related persons, and establish measures to provide comprehensive protection after a child is born through surrogacy in order to protect the well-being, safety, and utmost benefits of the child born from surrogacy.en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิวัฒนาการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์โดยวิธีการตั้งครรภ์แทน (2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์โดยวิธีการตั้งครรภ์แทนของประเทศไทย ประเทศแคนาดาและเครือรัฐออสเตรเลีย (รัฐควีนส์แลนด์) (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ทางการแพทย์โดยวิธีการตั้งครรภ์แทน (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์โดยวิธีการตั้งครรภ์แทนให้มีประสิทธิภาพวิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย หนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์และข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้มีประสิทธิภาพต่อไปผลการศึกษาพบว่า (1) การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์โดยวิธีการตั้งครรภ์แทน มีวิวัฒนาการจากการบำบัดรักษาการมีบุตรยากในอดีตใช้วิธีการผสมเทียมต่อมาพัฒนามาเป็นวิธีการตั้งครรภ์แทนปรากฏตามแนวคิดมาจากความต้องการสืบทอดดำรงเผ่าพันธุ์ของชีวิตมนุษย์แก้ไขปัญหาข้อบกพร่องทางกายเอาชนะข้อจำกัดของธรรมชาติเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่สามารถมีบุตรได้หรือผู้ที่มีภาวะการมีบุตรยาก โดยรัฐได้บัญญัติกฎหมายเพื่อควบคุมการตั้งครรภ์แทนเพื่อมิให้ถูกนำไปใช้ในทางมิชอบปรากฏตามทฤษฎีที่รัฐนำมาใช้บัญญัติกฎหมายที่มีโทษ ทางอาญา คือ ทฤษฎีความรับผิดทางอาญาและทฤษฎีการลงโทษทางอาญา (2) มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยปรากฏในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 มาตรการของประเทศแคนาดาปรากฏในพระราชบัญญัติช่วยการเจริญพันธุ์ของมนุษย์ และมาตรการของเครือรัฐออสเตรเลีย (รัฐควีนส์แลนด์) ปรากฏในพระราชบัญญัติการตั้งครรภ์แทน ค.ศ.2010 (3) ในกฎหมายของประเทศแคนาดากำหนดบทลงโทษมาตรการห้ามมิให้ซื้อขายนำเข้าส่งออกอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อนสูงกว่ากฎหมายไทยทั้งโทษจำคุกและปรับ ทั้งกำหนดบทลงโทษการสร้าง เก็บรักษา ใช้ประประโยชน์ ทำให้สิ้นสภาพและเลือกเพศตัวอ่อนให้มีโทษทางอาญาแตกต่างจากกฎหมายไทยซึ่งมีเพียงโทษทางจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ส่วนในกฎหมายของเครือรัฐออสเตรเลีย (รัฐควีนส์แลนด์) กำหนดมาตรการทางกฎหมายชัดเจนแตกต่างจากกฎหมายไทย คือ การกำหนดคำนิยามของการตั้งครรภ์แทนเชิงพาณิชย์และคำนิยามของค่าใช้จ่ายในการตั้งครรภ์แทนที่สามารถจ่ายได้ การกำหนดขอบเขตความรับผิดของบุคลากรทางการแพทย์ให้ชัดเจน กำหนดการคุ้มครองข้อมูลหรือวัตถุของผู้เกี่ยวข้องไว้โดยเฉพาะเจาะจง และการกำหนดการคุ้มครองเด็กครอบคลุมหลังจากเด็กเกิด ซึ่งกฎหมายของประเทศไทยมิได้กำหนดมาตรการทางกฎหมายที่มีโทษทางอาญาให้มีความชัดเจน ครอบคลุม การให้ความคุ้มครองและประสิทธิภาพในการควบคุมการดำเนินการตั้งครรภ์แทนอย่างเพียงพอ (4) ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 โดยอาศัยกลไกของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.2562 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพต่อไป โดยกำหนดมาตรการทางกฎหมายให้มีความชัดเจนทั้งคำนิยามและขอบเขตความรับผิด กำหนดบทลงโทษให้มีประสิทธิภาพในการข่มขู่ยับยั้งการกระทำความผิด กำหนดมาตรการในการให้ความคุ้มครองข้อมูลหรือวัตถุของเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนและผู้เกี่ยวข้องไว้โดยเฉพาะเจาะจง และกำหนดมาตรการในการให้ความคุ้มครองครอบคลุมภายหลังจากเด็กเกิดจากการตั้งครรภ์แทนแล้ว เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพ ความปลอดภัย และประโยชน์สูงสุดของเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนth
dc.language.isoth
dc.publisherSukhothai Thammathirat Open University
dc.rightsSukhothai Thammathirat Open University
dc.subjectการเจริญพันธุ์ การตั้งครรภ์แทน เทคโนโลยีทางการแพทย์th
dc.subjectFertility surrogacy medical technologyen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationHuman health and social work activitiesen
dc.subject.classificationBasic / broad general programmesen
dc.titleMeasures to control medical technology assisted in reproductionen
dc.titleมาตรการควบคุมเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยการเจริญพันธุ์th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorInkarat Doljemen
dc.contributor.coadvisorอิงครัต ดลเจิมth
dc.contributor.emailadvisor[email protected]
dc.contributor.emailcoadvisor[email protected]
dc.description.degreenameMaster of Laws in Criminal Law and Criminal Justice (LL.M.)en
dc.description.degreenameนิติศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม (น.ม.)th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
dc.description.degreedisciplineMaster of Lawsen
dc.description.degreedisciplineนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2584001867.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.