Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13429
Title: Problems With Civil Rights Framework Standards and Military Conscription in Thailand
ปัญหามาตรฐานกรอบสิทธิพลเมืองและการเกณฑ์ทหารในประเทศไทย
Authors: Klang Phokham
กลาง โพธิ์คำ
Akadet Manoleehagul
อัคเดช มโนลีหกุล
Sukhothai Thammathirat Open University
Akadet Manoleehagul
อัคเดช มโนลีหกุล
[email protected]
[email protected]
Keywords: การเกณฑ์ทหาร ทหาร สิทธิพลเมือง
Conscription
Military
Civil Rights
Issue Date:  16
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this thesis are: (1) to study theoretical concepts related to the protection of citizens' rights and freedoms under a democratic regime, particularly in relation to military conscription; (2) to examine issues surrounding the protection of citizens' rights and freedoms under a democratic regime as stipulated by the Military Service Act of 1954; (3) to conduct a comparative study of the protection of citizens' rights and freedoms in relation to military conscription in the United States, the Russian Federation, and the French Republic; and (4) to propose recommendations for improving the military conscription system in Thailand under the principles of the Military Service Act of 1954.                        This thesis employs a qualitative legal research methodology, primarily based on documentary research from books, academic articles, research reports, theses, seminar materials, various academic texts, and relevant information sources. The collected data are analyzed and synthesized to reach research conclusions.     The study findings indicate that (1) democratic governance incorporates principles of human rights and civil rights to guide the protection of citizens’ rights and freedoms in conscription practices; (2) compulsory military service for certain Thai men during peacetime may restrict individual freedom in life choices and career pursuits, potentially resulting in a loss of human resources from the national economy; (3) a comparative analysis of conscription laws in the United States of America, Russian Federation, and French Republic reveals that while all three countries have conscription laws with provisions for conscientious objection, only the Russian Federation currently enforces compulsory conscription; (4) recommendations include enacting regulations and penalties to prohibit the use of conscripted soldiers as personal aides or servants, establishing equal rights and welfare for conscripted soldiers comparable to those of regular soldiers, suspending conscription during peacetime, and defining military service as a voluntary profession similar to other civil service roles. Furthermore, it suggests constitutional recognition of conscientious objection, with a provision stating, “No civilian shall be compelled to serve as a soldier or perform any form of forced labor, except in cases of war or invasion by hostile forces, where conscription may be enacted temporarily through orders issued by the Prime Minister with the approval of the House of Representatives.” Lastly, the study advocates for alternative public service options as substitutes for military service.
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพลเมืองภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เกี่ยวเนื่องกับแนวคิดและระบบของการเกณฑ์ทหาร (2) ศึกษาถึงปัญหาการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพลเมืองภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พุทธศักราช 2497 (3) ศึกษาถึงการเปรียบเทียบการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพลเมืองที่เกี่ยวเนื่องกับระบบการเกณฑ์ทหารของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย และประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส (4) ทราบถึงข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบการเกณฑ์ทหารในประเทศไทยภายใต้หลักการแห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พุทธศักราช 2497                  วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยเอกสาร จากหนังสือ บทความทางวิชาการ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ เอกสารประกอบการสัมมนา และตำราวิชาการต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลสารสนเทศ โดยนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อนำไปสู่บทสรุปการวิจัย   ผลการศึกษาพบว่า (1) การปกครองระบอบประชาธิปไตยได้นำหลักสิทธิมนุษยชนและหลักสิทธิพลเมืองเป็นแนวทางในการให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพลเมืองในการเกณฑ์ทหาร (2) การบังคับชายไทยบางส่วนเข้ารับราชการทหารในห้วงเวลาที่ไม่มีภัยสงครามอาจนำไปสู่การลิดรอนเสรีภาพในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพในระดับปัจเจกบุคคลและการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ในวัยทำงานออกจากระบบเศรษฐกิจในระดับประเทศ (3) ผลการเปรียบเทียบกฎหมายระบบการเกณฑ์ทหารของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย และประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส พบว่ามีกฎหมายที่มีบัญญัติเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหารและมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองการคัดค้านการเกณฑ์ทหารด้วยมโนธรรม แต่ในทางปฏิบัติประเทศสหพันธรัฐรัสเซียเท่านั้นที่ยังมีระบบการบังคับเกณฑ์ทหารในปัจจุบัน (4) ควรออกกฎและโทษการห้ามนำทหารกองประจำการไปเป็นทหารบริการหรือทหารรับใช้ กำหนดสิทธิและสวัสดิการให้แก่ทหารกองประจำการให้เทียบเท่าทหารประจำการ หยุดการเกณฑ์ทหารเข้าเป็นทหารกองประจำการในยามสถานการณ์ปกติ กำหนดอาชีพทหารให้เป็นวิชาชีพที่สามารถสมัครได้โดยความสมัครใจเฉกเช่น ข้าราชการในตำแหน่งอื่น ๆ เปิดโอกาสให้มีการคัดค้านอย่างมีมโนธรรม กำหนดในรัฐธรรมนูญว่า “พลเรือนในประเทศจะถูกบังคับให้เป็นทหารหรือใช้แรงงานใด ๆ มิได้เว้นแต่เมื่อมีภัยสงครามหรือถูกรุกรานจากราชศัตรู ให้มีการเรียกเกณฑ์พลเรือนมาเป็นทหารเพื่อต่อสู้กับราชศัตรูได้เป็นการชั่วคราว โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ออกประกาศคำสั่งเรียกเกณฑ์โดยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร” และเสนอให้มีทางเลือกในการประกอบกิจกรรมอื่นเพื่อสาธารณะแทนการเป็นทหาร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13429
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2614001077.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.