Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13431
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | KAMOLPAT VATTANATHAM | en |
dc.contributor | กมลภัทร์ วัฒนธรรม | th |
dc.contributor.advisor | Sartsada Wiriyanupong | en |
dc.contributor.advisor | ศาสดา วิริยานุพงศ์ | th |
dc.contributor.other | Sukhothai Thammathirat Open University | en |
dc.date.accessioned | 2025-01-24T08:47:36Z | - |
dc.date.available | 2025-01-24T08:47:36Z | - |
dc.date.created | 2024 | |
dc.date.issued | 2/9/2024 | |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13431 | - |
dc.description.abstract | This independent study has the objectives to (1) study the concepts and theories associated with disputes involving the reclaiming money from government officials who have received payments to which they are not entitled or have received overpayments; (2) study the legal status of recovery orders issued by administrative authorities, the jurisdiction of courts to adjudicate such disputes, and the application of legal provisions by Thai courts in these cases, with a comparative analysis of French and German law; (3) analyze the issues resulting from disputes involving the recovery of funds from government officials who have received payments to which they are not entitled or have received overpayments; and (4) propose recommendations for addressing these disputes. This independent research is qualitative legal research that employs a document research methodology and analyzes legal texts, law textbooks, articles, research papers, academic journals, doctoral dissertations, Supreme Administrative Court judgments, legal perspectives, and diverse electronic databases. A comparative study with the French Republic and the Federal Republic of Germany is conducted, and the findings are presented in a descriptive manner. The findings showed that 1) Present judicial decisions with respect to administrative acts take into account the principles of legality and the promotion of the public interest. Regardless, they do not consider the principle of good faith in the continued existence of administrative orders, legal methods or the interpretation of public law, and the binding nature of the law on the judiciary. (2) There is no apparent legal provision granting administrative agencies the authority to reclaim money from state officials who have received them without entitlement or more than their entitlement. Accordingly, such a demand for repayment does not have the status of an administrative order, causing the dispute to fall outside the jurisdiction of the administrative court. The court with jurisdiction over the case did not apply the provisions on unjust enrichment under the Civil and Commercial Code by analogy. 3) Given that there is no legal provision granting administrative agencies the authority to demand a refund through an administrative order and given that the nature of this dispute does not arise from the exercise of administrative power or the conduct of administrative affairs, it is not a dispute within the jurisdiction of the administrative court. Instead, it is a dispute that falls within the jurisdiction of the ordinary courts. The ordinary courts have ascertained that the payment of money to a state official was not a payment of a debt or an acquisition by any other means without a legal basis. Rather, it was a case where the state official received the money unlawfully. It follows that it is not a case of unjust enrichment, but rather a situation where the administrative agency unintentionally delivered the money and thus has the right to recover it pursuant to section 1336 of the Civil and Commercial Code. And (4) It is recommended that section 51, paragraph four of the Administrative Procedure Act B.E. 2539 be amended to stipulate that the exercise of the right to demand a refund by an administrative agency must be done in the form of a written administrative order. This will subsequently provide administrative agencies with the authority to issue administrative orders demanding refunds, allowing the parties to bring such disputes to the administrative court and enabling the parties to receive protection under the provisions of the Administrative Procedure Act. | en |
dc.description.abstract | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองเรียกเงินคืนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิหรือได้รับเกินสิทธิ (2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับสถานะของหนังสือที่หน่วยงานทางปกครองเรียกเงินคืน เขตอำนาจศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา และการปรับใช้บทบัญญัติกฎหมายของศาลในคดีพิพาทดังกล่าวในประเทศไทยและเปรียบเทียบกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (3) วิเคราะห์ปัญหาคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองเรียกเงินคืนจากเจ้าหน้าที่ที่ได้รับโดยไม่มีสิทธิหรือได้รับเกินสิทธิ (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองเรียกเงินคืนจากเจ้าหน้าที่ที่ได้รับโดยไม่มีสิทธิหรือได้รับเกินสิทธิการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางนิติศาสตร์ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการค้นคว้าและวิจัยเชิงเอกสาร โดยทำการศึกษาจากตัวบทกฎหมาย ตำรากฎหมาย บทความ งานวิจัย วารสารทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ความเห็นทางกฎหมาย รวมทั้งฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ และทำการศึกษาเปรียบเทียบ กับสาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และนำเสนอผลการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อได้ข้อสรุปและแนวทางในการแก้ไขปัญหาคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองเรียกเงินคืนจากเจ้าหน้าที่ที่ได้รับโดยไม่มีสิทธิหรือได้รับเกินสิทธิ ผลการศึกษาพบว่า (1) การพิจารณาพิพากษาคดีปัจจุบันคำนึงถึงหลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมายและเป็นการมุ่งคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ โดยมิได้คำนึงถึงหลักความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครอง นิติวิธีหรือการตีความทางกฎหมายมหาชน และความผูกพันต่อกฎหมายของฝ่ายตุลาการแต่อย่างใด (2) การเรียกเงินคืนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิหรือได้รับเกินสิทธิไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดให้อำนาจแก่หน่วยงานทางปกครองในการเรียกเงินคืนหนังสือเรียกเงินคืนดังกล่าวจึงไม่มีสถานะเป็นคำสั่งทางปกครอง ทำให้คดีพิพาทไม่อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองโดยศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีมิได้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับใช้โดยอนุโลม (3) เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติกฎหมายให้อำนาจหน่วยงานทางปกครองในการเรียกเงินคืนโดยทำเป็นคำสั่งทางปกครอง แต่โดยลักษณะของคดีพิพาทดังกล่าวมิใช่คดีพิพาทที่เกิดจากการใช้อำนาจทางปกครองหรือเป็นการดำเนินกิจการทางปกครองแต่อย่างใด จึงมิใช่คดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมซึ่งศาลยุติธรรมเห็นว่าการจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมิใช่การกระทำเพื่อชำระหนี้หรือได้มาโดยประการอื่นโดยปราศจากมูลจะอ้างกฎหมายได้หากแต่เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับเงินไปโดยไม่ชอบ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องลาภมิควรได้แต่เกิดจากหน่วยงานทางปกครองส่งมอบเงินให้โดยสำคัญผิดจึงมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 และ (4) เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 51 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยกำหนดว่าการใช้สิทธิเรียกเงินคืนของหน่วยงานทางปกครองต้องทำเป็นคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานทางปกครองมีฐานอำนาจในการออกคำสั่งทางปกครองเรียกเงินคืนทำให้คู่กรณีสามารถนำข้อพิพาทดังกล่าวมาฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้และทำให้คู่กรณีได้รับการคุ้มครองตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Sukhothai Thammathirat Open University | |
dc.rights | Sukhothai Thammathirat Open University | |
dc.subject | คดีปกครอง | th |
dc.subject | การเรียกเงินคืน | th |
dc.subject | หลักลาภมิควรได้ | th |
dc.subject | Administrative case | en |
dc.subject | Reclaiming money | en |
dc.subject | Principle of undue Enrichment | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Administrative and support service activities | en |
dc.title | Dispute cases concerning administrative agency reclaiming money from official which received without rights or in excess of their rights | en |
dc.title | คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองเรียกเงินคืนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิหรือได้รับเกินสิทธิ | th |
dc.type | Independent Study | en |
dc.type | การศึกษาค้นคว้าอิสระ | th |
dc.contributor.coadvisor | Sartsada Wiriyanupong | en |
dc.contributor.coadvisor | ศาสดา วิริยานุพงศ์ | th |
dc.contributor.emailadvisor | [email protected] | |
dc.contributor.emailcoadvisor | [email protected] | |
dc.description.degreename | Master of Laws in Public Law (LL.M.) | en |
dc.description.degreename | นิติศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกกฎหมายมหาชน (น.ม.) | th |
dc.description.degreelevel | Master's Degree | en |
dc.description.degreelevel | ปริญญาโท | th |
dc.description.degreediscipline | Master of Laws | en |
dc.description.degreediscipline | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2614001820.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.