Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13432
Title: | ปัญหาทางกฎหมายกรณีการกำหนดค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมภายหลังการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้ |
Other Titles: | Legal problems in determining environmental damages after encroachment and destruction of forest areas |
Authors: | อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์ กัญชพร บรรณรัตน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี กฎหมายป่าไม้ ความรับผิดสำหรับความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการกำหนดค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมภายหลังการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้ (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับการกำหนดค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมภายหลังการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้ ตามกฎหมายไทย กฎหมายของสหรัฐอเมริกา เครือรัฐออสเตรเลีย และประเทศญี่ปุ่น (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมภายหลังการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้ และ (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมภายหลังการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารจากการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราห์ปัญหาทางกฎหมายกรณีการกำหนดค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมภายหลังการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้ และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายการกำหนดค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมภายหลังการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไปผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดในการกำหนดค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมเกิดจากการที่รัฐมุ่งประสงค์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และปรากฎในหลักเกณฑ์ที่รัฐนำมาใช้บัญญัติกฎหมายในการกำหนดค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อม คือ หลักนิติเศรษฐศาสตร หลักเกณฑ์การประเมินค่าเสียหายทางแพ่ง (2) มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยปรากฏในพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ส่วนมาตรการทางกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ปรากฎในกฎหมายความรับผิดการชดเชย และความรับผิดทางสิ่งแวดล้อมอย่างครอบคลุม (CERCLA) เครือรัฐออสเตรเลียปรากฎในกฎหมายพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อมและที่ดิน รัฐนิวเซาท์เวลล์ และประเทศญี่ปุ่น ปรากฎในกฎหมายกฎหมายทางสิ่งแวดล้อม และการชดเชยความเสียหายต่อสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับมลพิษ (3) กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา เครือรัฐออสเตรเลีย และประเทศญี่ปุ่นมีการกำหนดค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน ต่างจากประเทศไทยที่ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมภายหลังการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้ (4) ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 40 เพิ่มบทบัญญัติการจัดการระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชน และชุมชน พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เพิ่มบทบัญัติมาตรา มาตรา 97 กำหนดให้ใช้แบบจำลองประเมินค่าความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกฎหมายต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13432 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2614002109.pdf | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.