Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13462
Title: | ปัญหาทางกฎหมายกรณีการถูกลอยแพของแฟรนไชส์ซีรายย่อย |
Other Titles: | Legal issue in abandonment of franchisees |
Authors: | อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์ ณัฐฐาพันธุ์ ตั้งศิริรัตนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี แฟรนไชส์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ประวัติความเป็นมา และหลักการพื้นฐานของปัญหาทางกฎหมายกรณีการถูกลอยแพของแฟรนไชส์ซีรายย่อย (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางกฎหมายกรณีการถูกลอยแพของแฟรนไชส์ซีรายย่อยของประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาในมลรัฐแคลิฟอร์เนียและมลรัฐอิลลินอยส์ (3) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายและวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายกรณีการถูกลอยแพของแฟรนไชส์ซีรายย่อย (4) ศึกษาถึงแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาทางกฎหมายกรณีการถูกลอยแพของแฟรนไชส์ซีรายย่อยของประเทศไทย การศึกษาค้นคว้านี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากการค้นคว้าจากเอกสาร หนังสือ บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย และวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ของสหรัฐอเมริกาในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย และมลรัฐอิลลินอยส์ ผลจากการศึกษาพบว่า (1) แนวคิด ประวัติความเป็นมา และหลักการพื้นฐานของปัญหาทางกฎหมายกรณีการถูกลอยแพของแฟรนไชส์ซีรายย่อย ปรากฏทฤษฎีที่รัฐนำมาใช้ควบคุมการลอยแพแฟรนไชส์ซีรายย่อย คือ ความไม่เท่าเทียมกันของอำนาจการต่อรอง ความไม่สมมาตรของข้อมูลข่าวสาร หลักความได้สัดส่วน (2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางกฎหมายกรณีการถูกลอยแพของแฟรนไชส์ซีรายย่อยของประเทศไทย ปรากฏในประกาศคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ส่วนของสหรัฐอเมริกาปรากฎในประกาศคณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐ ส่วนมลรัฐแคลิฟอร์เนียและมลรัฐอิลลินอยส์มีกฎหมายเฉพาะ (3) กฎหมายกลางของสหรัฐอเมริกา มลรัฐแคลิฟอร์เนียและมลรัฐอิลลินอยส์บัญญัติให้มีกฎหมายสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการเฉพาะ มีหน่วยงานกำกับมาตรฐานของแฟรนไชส์ซอร์ และกำหนดเอกสารการเปิดเผยข้อมูลอย่างละเอียดและชัดเจน (4) ควรมีการบัญญัติให้มีกฎหมายสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการเฉพาะ มีหน่วยงานกำกับควบคุมมาตรฐานของแฟรนไชส์ซอร์ และกำหนดเอกสารการเปิดเผยข้อมูลอย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกฎหมายต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13462 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2644000065.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.