Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13493
Title: Rights of Single Women to Access Assisted Reproductive Technology for Pregnancy Without a Spouse in the Kingdom of Thailand
สิทธิของผู้หญิงโสดในการเข้าถึงเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์เพื่อตั้งครรภ์โดยไม่มีคู่สมรสในราชอาณาจักรไทย
Authors: Sopitta Sokhuma
โศภิตตา โสขุมา
Sartsada Wiriyanupong
ศาสดา วิริยานุพงศ์
Sukhothai Thammathirat Open University
Sartsada Wiriyanupong
ศาสดา วิริยานุพงศ์
[email protected]
[email protected]
Keywords: เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์  หญิงโสด  การตั้งครรภ์โดยไม่มีคู่สมรส
Assisted Reproductive Technology
Single Women
Pregnancy Without a Spouse
Issue Date:  26
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The objectives of this independent study are: (1) to examine the definition, background, theories, and principles of assisted reproductive technology (ART), (2) to explore the laws related to the use of ART by single women in the Kingdom of Thailand, (3) to study, analyze, and compare the laws of the Kingdom of Denmark and the Kingdom of Spain regarding ART usage by single women, and (4) to propose solutions and recommendations to improve access to ART for single women in Thailand.This research employs a documentary research methodology, gathering data from academic texts, legal documents, such as the Constitution of the Kingdom of Thailand, the Child Protection Act for Children Born Through Assisted Reproductive Technology, as well as other relevant laws, academic articles, court rulings, and the laws of Denmark and Spain related to the rights of single women to access ART.The findings of this study reveal the following: (1) Considering the principles of the rule of law, human dignity, reproductive health rights, and reproductive freedom theory, it is evident that all individuals should have the right to access ART to have biological children without discrimination based on marital status, gender, or sexual orientation. (2) In Thailand, the laws governing ART currently grant access only to women legally married to their husbands. (3) In contrast, the laws of Denmark and Spain provide greater access to ART for both married and unmarried individuals, including single women and women in same-sex relationships. (4) It is recommended that the Child Protection Act for Children Born Through Assisted Reproductive Technology be amended to allow single women and individuals of diverse sexual orientations who are not legally married to access ART. Additionally, stricter guidelines should be established to prevent the misuse of ART.
การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความหมาย ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักคิด เกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของผู้หญิงโสดในราชอาณาจักรไทย (3) ศึกษา วิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายของราชอาณาจักรเดนมาร์ก และราชอาณาจักรสเปน ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของหญิงโสด (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับการใช้สิทธิในการเข้าถึงเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของหญิงโสดในราชอาณาจักรไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการศึกษาโดยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยจะทำการศึกษาค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลจากตำราวิชาการ ตัวบทกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ตลอดจนกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง บทความและเอกสารทางวิชาการต่างๆ คำพิพากษา ตลอดจนกฎหมายของราชอาณาจักรเดนมาร์ก และราชอาณาจักรสเปน ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ของหญิงโสดผลจากการศึกษาพบว่า (1) เมื่อพิจารณาถึง หลักนิติธรรม หลักศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ หลักสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ และทฤษฎีเสรีภาพในการเจริญพันธุ์ ประกอบกันนั้น มีการสนับสนุนให้บุคคลทุกคนล้วนมีสิทธิเข้าถึงเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแทพย์ เพื่อให้ตนเองได้มีบุตรสืบสันดาน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติว่าบุคคลดังกล่าวจะมีทะเบียนสมรสหรือไม่ หรือมีเพศสภาพเป็นชาย หญิง หรือบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศแบบอื่น (2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ในราชอาณาจักรไทย ยังคงให้สิทธิเพียงแค่หญิงที่มีสามีโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นในการเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าว (3) กฎหมายของราชอาณาจักรเดนมาร์ก และราชอาณาจักรสเปน เปิดโอกาสให้กับชายและหญิงที่ทั้งจดทะเบียนสมรส และไม่จดทะเบียนสมรส ตลอดจนหญิงโสดและกลุ่มหญิงรักหญิง ในการเข้าถึงเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์มากกว่าราชอาณาจักรไทย (4) เห็นควรเสนอแนะให้มีการการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ให้เปิดโอกาสให้กับหญิงโสด และกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอื่นที่มิได้จดทะเบียนสมรส ให้ได้เข้าถึงเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมให้มีความรัดกุมในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อมิให้มีการฉวยโอกาสในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวไปในทางที่มิชอบ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13493
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2654001334.pdf910.94 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.