Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13493
Title: | สิทธิของผู้หญิงโสดในการเข้าถึงเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์เพื่อตั้งครรภ์โดยไม่มีคู่สมรสในราชอาณาจักรไทย |
Other Titles: | Rights of single women to access assisted reproductive technology for pregnancy without a spouse in the Kingdom of Thailand |
Authors: | ศาสดา วิริยานุพงศ์ โศภิตตา โสขุมา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์มนุษย์--ไทย สตรีโสด--สถานภาพทางกฎหมาย--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความหมาย ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักคิด เกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของผู้หญิงโสดในราชอาณาจักรไทย (3) ศึกษา วิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายของราชอาณาจักรเดนมาร์ก และราชอาณาจักรสเปน ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของหญิงโสด (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับการใช้สิทธิในการเข้าถึงเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของหญิงโสดในราชอาณาจักรไทยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการศึกษาโดยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยจะทำการศึกษาค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลจากตำราวิชาการ ตัวบทกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ตลอดจนกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง บทความและเอกสารทางวิชาการต่างๆ คำพิพากษา ตลอดจนกฎหมายของราชอาณาจักรเดนมาร์ก และราชอาณาจักรสเปน ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ของหญิงโสดผลจากการศึกษาพบว่า (1) เมื่อพิจารณาถึง หลักนิติธรรม หลักศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ หลักสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ และทฤษฎีเสรีภาพในการเจริญพันธุ์ ประกอบกันนั้น มีการสนับสนุนให้บุคคลทุกคนล้วนมีสิทธิเข้าถึงเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแทพย์ เพื่อให้ตนเองได้มีบุตรสืบสันดาน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติว่าบุคคลดังกล่าวจะมีทะเบียนสมรสหรือไม่ หรือมีเพศสภาพเป็นชาย หญิง หรือบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศแบบอื่น (2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ในราชอาณาจักรไทย ยังคงให้สิทธิเพียงแค่หญิงที่มีสามีโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นในการเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าว (3) กฎหมายของราชอาณาจักรเดนมาร์ก และราชอาณาจักรสเปน เปิดโอกาสให้กับชายและหญิงที่ทั้งจดทะเบียนสมรส และไม่จดทะเบียนสมรส ตลอดจนหญิงโสดและกลุ่มหญิงรักหญิง ในการเข้าถึงเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์มากกว่าราชอาณาจักรไทย (4) เห็นควรเสนอแนะให้มีการการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ให้เปิดโอกาสให้กับหญิงโสด และกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอื่นที่มิได้จดทะเบียนสมรส ให้ได้เข้าถึงเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมให้มีความรัดกุมในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อมิให้มีการฉวยโอกาสในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวไปในทางที่มิชอบ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13493 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2654001334.pdf | 910.94 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.