Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13523
Title: ปัญหาทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของพนักงานฝ่ายปกครอง
Other Titles: Legal problems in preventing and suppressing human trafficking in the Role of Administrative Official
Authors: วรรณวิภา เมืองถ้ำ
สุภัสสร ประเสริฐกิจ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การค้ามนุษย์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และความเป็นมาของความผิดฐานค้ามนุษย์ (2) ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการป้องกัน ปราบปราม และลงโทษผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ตามกฎหมายของไทย พิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสิงคโปร์ (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาของมาตรการทางกฎหมาย ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของพนักงานฝ่ายปกครอง ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้นการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย คำพิพากษา ตำรากฎหมาย รายงานการวิจัย หนังสือ บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ เอกสารการประชุมต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลจากเว็บไซด์ที่สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความผิดฐานค้ามนุษย์ มุ่งเน้นการวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบจากการค้ามนุษย์ (2) เมื่อศึกษามาตรการป้องกัน ปราบปราม และลงโทษผู้กระทำผิดฐานค้ามนุษย์ของไทยพบว่ากฎหมายมุ่งเน้นการป้องกัน ปราบปราม และคุ้มครองเหยื่อ ตามแนวทางในพิธีสารฯ เช่นเดียวกับกฎหมายของสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ แต่กฎหมายของไทยมีบทบัญญัติบางมาตรา เช่นมาตรา 52/1 มาตรา 56/1 ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลที่มุ่งเน้นการลงโทษอย่างเข้มงวด (3) พนักงานฝ่ายปกครองต้องเผชิญกับอุปสรรคคือความไม่ชัดเจนของกฎหมาย เช่นคำว่าการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล และหน่วงเหนี่ยวกักขัง  ตามมาตรา 6 และคำว่าเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 13 ปัญหาการตีความทำให้ขาดความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย (4) เสนอให้แก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 โดยแก้ไขคำว่า การอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล เป็น การอื่นใดที่คล้ายคลึงกันกับวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ เพิ่มนิยามคำว่าทำให้ตกอยู่ใต้บังคับโดยไม่สมัครใจ และคำว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ชัดเจน รวมถึงแก้ไขบทกำหนดโทษกรณีบุพการีกระทำต่อผู้สืบสันดานให้รับโทษหนักขึ้น เว้นแต่มีเหตุลดโทษ และเพิ่มบทกำหนดโทษสำหรับผู้กระทำความผิดซ้ำ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นไปตามหลักสากล
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13523
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2654002944.pdf26.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.