Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13529
Title: Legislative measures relating to people's participation to prevent and suppress corruption in local government organizations
มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชนเพื่อป้องกัน และปราบปรามการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Authors: Watcharapron Maneenuch
วัชราภรณ์ มณีนุช
Sartsada Wiriyanupong
ศาสดา วิริยานุพงศ์
Sukhothai Thammathirat Open University
Sartsada Wiriyanupong
ศาสดา วิริยานุพงศ์
[email protected]
[email protected]
Keywords: การมีส่วนร่วม
การทุจริตคอร์รัปชัน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
public participation
corruption
local government organizations.
Issue Date:  25
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: This research aims to (1) systematically study corruption in local administrative organizations; (2) study the concepts and theories related to public participation and corruption; (3) study legal measures in the Republic of Korea, Japan, the United States that are in the United Kingdom, and international measures related to anti-corruption; (4) Study problems and obstacles in the enforcement of laws related to public participation; and (5) to suggest guidelines for amending laws to promote public participation more appropriately.This research study Is a legal research by qualitative research With document research Conducting in-depth interviews from local government officials Agency staff dealing with local corruption investigations and citizens, including sub-group meetings with direct experience in governance and Investigate local corruption And then analyze the information obtained Synthetic and make recommendations For this research.The study revealed that four corrupt groups are responsible for corruption in local government organizations. : (1) Corruption in local government organizations occurs systematically from administrative structures, monopolies, discretion and regulatory power that support patronage of four groups of corrupt individuals. The cause of corruption is consistent with the corruption triangle theory and the rational choice theory of crime, which encompasses local and national political groups, government officials, private sector groups, and civil society groups. (2) The theoretical concepts used to solve the corruption problem include the concepts of good governance and public participation, and the application of the theory of rule and the new institutional economic theory as basic principles for creating laws as tools to help create social governance. (3) Legal measures in foreign countries have applied the principles of public participation and public governance, including punitive compensation, to punish corrupt persons and increase incentives for citizens by rewarding them with a share of the money the state will receive or the value of the damage that can be prevented from reporting the information, which can be adapted to be used in Thailand. (4) Currently, people still face problems in participating with independent organizations to prevent and suppress corruption, including problems regarding participation in local government activities in local government, public procurement, access to information, and people's exercise of their rights in court, which are still limited by law. In addition, laws regarding people's participation are still not consistent with people's motivation. The problems are caused by the unclear laws and lack of laws to guarantee rights, social structures, administrative restrictions, the use of discretion of officials, and the lack of laws to guarantee rights. (5) The solution to this problem can be done by amending the law to guarantee the people's rights to participation and judicial rights, especially the right to access information by enacting the Local Transparency Promotion and Corruption Prevention Act B.E.... To clearly define the details of information that must be disclosed and to penalize government officials who deviate from the standard Criteria or use their discretion unlawfully, as well as to increase incentives by rewarding whistleblowers and to enhance whistleblower protection measures under the principles of public economic law to implement domestic laws in accordance with the United Nations Convention against Corruption, which will increase opportunities for public participation that will ultimately solve the problem of Corruption sustainably.
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการทุจริตคอร์รัปชั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ (2) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และการทุจริต (3) ศึกษามาตรการทางกฎหมายในสาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา  และสหราชอาณาจักร และมาตรการสากลที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านทุจริต (4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน (5) เสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมายในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มีความเหมาะสมต่อไป                        การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสาร ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวกับการตรวจสอบการทุจริตในท้องถิ่น และประชาชน รวมทั้งการประชุมกลุ่มย่อยผู้มีประสบการณ์โดยตรงด้านการปกครองและการตรวจสอบการทุจริตในท้องถิ่น แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดทำข้อเสนอแนะในงานวิจัยนี้ ผลการศึกษาพบว่า (1) การทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบจากโครงสร้างการบริหารงาน การผูกขาดอำนาจ การใช้ดุลพินิจ และอำนาจกำกับดูแลที่เอื้อต่อระบบอุปถัมภ์ โดยผู้ทุจริต 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการเมืองท้องถิ่นและระดับประเทศ กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มภาคเอกชน และกลุ่มภาคประชาชน สาเหตุของการทุจริตสอดคล้องกับทฤษฎีสามเหลี่ยมทุจริต และทฤษฎีทางเลือกเชิงเหตุผลในการก่ออาชญากรรม (2) แนวคิดทฤษฎีที่นำมาแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชัน ได้แก่ แนวคิดธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของประชาชน และการนำทฤษฎีกฎและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สถาบันแบบใหม่มาเป็นหลักการพื้นฐานในการสร้างกฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือที่จะช่วยการสร้างธรรมาภิบาลทางสังคมขึ้น (3) มาตรการทางกฎหมายในต่างประเทศนั้น ได้นำหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนและธรรมาภิบาลภาครัฐ รวมถึงค่าสินไหมทดแทนเชิงลงโทษมาใช้ลงโทษผู้คอร์รัปชัน และเพิ่มแรงจูงใจให้แก่ประชาชนด้วยการให้รางวัลเป็นส่วนแบ่งจากเงินที่รัฐจะได้รับหรือมูลค่าความเสียหายที่สามารถยับยั้งได้จากการแจ้งเบาะแสซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับประเทศไทยได้ (4) ปัจจุบันประชาชนยังประสบปัญหาในการมีส่วนร่วมกับองค์กรอิสระเพื่อป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านปกครองท้องถิ่น การจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการใช้สิทธิทางศาลของประชาชนยังถูกจำกัดไว้ โดยกฎหมาย ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนยังคงไม่สอดคล้องกับแรงจูงใจของประชาชน ปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุจาก ความไม่ชัดเจนของกฎหมายและการขาดกฎหมายรับรองสิทธิ โครงสร้างทางสังคม ข้อจำกัดที่เกิดจากการบริหารราชการ การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ และการขาดกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิ (5) แนวทางการแก้ปัญหาสามารถทำได้โดยแก้ไขกฎหมายรับรองสิทธิในการมีส่วนร่วมและสิทธิทางศาลของประชาชน โดยเฉพาะสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารโดยจัดทำพระราชบัญญัติส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตในท้องถิ่น พ.ศ.... เพื่อกำหนดรายละเอียดข้อมูลที่ต้องเผยแพร่ไว้อย่างชัดเจน และกำหนดโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้ดุลพินิจเบี่ยงเบนจากเกณฑ์มาตรฐาน หรือใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งเพิ่มแรงจูงใจด้วยการให้รางวัลผู้แจ้งเบาะแส และยกระดับมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสตามหลักกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจเพื่ออนุวัติการกฎหมายภายในประเทศให้เป็นไปตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการมีส่วนร่วมของประชาชนที่จะสามารถแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชันได้อย่างยั่งยืนในที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13529
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4624000081.pdf4.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.