Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13550
Title: | แนวทางการส่งเสริมการผลิตหอมแดงในพื้นที่ตำบลหนองหมีอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ |
Other Titles: | Extension guideline of shallot production in Nong Mi Subdistrict, Rasi Salai District, Si Sa Ket Province |
Authors: | จินดา ขลิบทอง ศรัญญู ปัญโญ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ หอมแดง--ไทย--ศรีสะเกษ--การผลิต |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตหอมแดงของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตหอมแดงของเกษตรกร 4) ความต้องการและแนวทางการส่งเสริมการผลิตหอมแดงของเกษตรกร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง ปีการผลิต 2565/66 ในพื้นที่ตำบลหนองหมี อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 635 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 240 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยการจับสลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49.29 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.08 คน มีพื้นที่ปลูกหอมแดงทั้งหมดเฉลี่ย 4.91 ไร่ โดยมีต้นทุนการผลิตหอมแดงเฉลี่ย 35,831.05 บาทต่อไร่ 2) มีประสบการณ์ในการผลิตหอมแดงเฉลี่ย 21.85 ปี ปลูกหอมแดงในที่ดอน และใช้น้ำใต้ดินในการปลูกหอมแดง ส่วนใหญ่ใช้พันธุ์พื้นเมืองศรีสะเกษ ปลูกช่วงปลายฝน (ตุลาคม-ธันวาคม) แบบไม่ยกร่อง ใช้ระยะปลูก 10 - 15 เซนติเมตร ใส่ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ผลผลิตเฉลี่ย 5,294.17 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้จากการจำหน่ายหอมแดงเฉลี่ย 55,537.50 บาทต่อไร่ พบการระบาดของโรคหอมแดงภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง การผลิตหอมแดงตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี พบว่า เกษตรกรมีการปฏิบัติตามแนวทางเกษตรที่ดีในระดับมากที่สุด 7 ประเด็น และปฏิบัติในระดับน้อย คือ การบันทึกข้อมูล 3) ปัญหาการผลิตหอมแดงของเกษตรกร คือ ปุ๋ยและสารเคมีต่างๆมีราคาแพง 4) เกษตรกรต้องการความรู้มากที่สุด คือ การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ผ่านช่องทางสื่อบุคคลเป็นหน่วยงานราชการ สื่อสิ่งพิมพ์เป็นคู่มือ และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์คืออินเทอร์เน็ต วิธีการส่งเสริม ได้แก่ การฝึกปฏิบัติ การบรรยาย ดังนั้น แนวทางการส่งเสริมคือหน่วยงานราชการถ่ายทอดความรู้การผลิตหอมแดง โดยผ่านช่องทาง และวิธีการส่งเสริม เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าในการผลิตหอมแดง ส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัย |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13550 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2649000607.pdf | 1.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.